ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ กับ โควิด-19 (s.80)

 

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้เขียนบทความที่ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจในเรื่อง "สถานการณ์โควิด-19: การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ" โดยได้วิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ในครั้งนี้  จึงขอจดเก็บบันทึกไว้ ดังนี้
.
1. ความสะอาดและสุขอนามัยถูกคำนึงถึงเป็นอันดับแรก - ประสบการณ์ในด้านสุขภาพและมาตรฐานด้านสุขอนามัยจะถูกพิจารณามายิ่งขึ้น  โดยธุรกิจต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค เช่น การตรวจสอบมาตรฐานและมีการสื่อสารแนวปฏิบัติที่ดีชัดเจน  ในขณะที่บางธุรกิจอาจต้องปรับรูปแบบการให้บริการให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น สปา แท็กซี่ เป็นต้น
.
2. ต้นทุนและความเสี่ยงในการทำธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น - กฎระเบียบใหม่ทำให้เกิดต้นทุนต่อผู้ประกอบการที่มากขึ้น ในขณะที่รายได้จากการขายมีแนวโน้มที่ลดลงเพราะมีการจำกัดผู้ใช้บริการ  ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องควบคุมและลดต้นทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด หรืออาจปรับขนาดองค์กร ลดคน เป็นต้น
.
3. ที่ตั้งธุรกิจกระจายตามบ้าน (Business based housing) มากขึ้น - หน่วยการผลิตหรือศูนย์กลางธุรกิจมีแนวโน้มไม่กระจุกตัวตามอาคารสูงหรือห้างร้าน  แต่จะเริ่มกระจายออกไปเกิดเป็นการทำธุรกิจตามบ้านเรือนมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์
.
4. กระตุ้นการบริโภคบนเหตุผลมากกว่าอารมณ์ - รายได้ที่ลดลงของผู้คนในสังคมทำให้เกิดความระมัดระวังในการใช้จ่าย  ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดจะเปลี่ยนไปเป็นการเน้นการกระตุ้นบนความจำเป็นและความคุ้มค่ามากกว่าบนฐานความชอบหรือรสนิยม  ธุรกิจต้องปรับตัวโดยเสนอสินค้าและบริการที่ตอบสนองการบริโภคบนเหตุผลและคำนึงถึงความเดือดร้อนของลูกค้ามากขึ้น
.
5. การรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand consciousness) และความไว้วางใจ (Trust) ลดลง - แนวโน้มการเข้าถึงประสบการณ์และคุณค่าของแต่ละแบรนด์จะลดลง เนื่องจากการบริโภคบนเหตุผลทำให้ผู้คนเน้นการบริโภคบนฐานความจำเป็น ราคา และคุณสมบัติของสินค้าและบริการ  โดยการรับรู้เรื่องแบรนด์และความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์จะถูกลดทอนด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากกว่า ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อที่มีจุดร่วมหรือมาจากสังกัดเดียวกัน ดังนั้นธุรกิจจะต้องรักษาความน่าเชื่อถือและมาตรฐานของแบรนด์ไว้ และพยายามสื่อสารให้ถึงกลุ่มลูกค้าอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
.
6. การกระจายตัวของห่วงโซ่อุปทาน - จากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ส่งผลทำให้โรงงานในจีนต้องปิดตัวลง ซึ่งทำให้ห่วงโซ่อุปทานการผลิตของโลกหยุดชะงัก ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยง รวมถึงการที่รัฐบาลประเทศพัฒนาแล้วพยายามดึงการลงทุนกลับประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการแยกออกระหว่างตะวันตกและตะวันออกมากขึ้น
.
7. โรงงานโลกแห่งใหม่ในแอฟริกา - ทวีปแอฟริกาอาจกลายเป็นผู้ชนะ ในฐานะที่เป็นเจ้าแห่งสัญญาการผลิต (Africa wins: Contract Manufacturers) เนื่องจากแนวโน้มการแยกออกของตะวันตกและตะวันออก  แอฟริกาอาจกลายเป็นตลาดแรงงานและฐานการผลิตแห่งใหม่ของโลก เพราะทวีปแอฟริกาเป็นแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ มีประชากรจำนวนมาก มีค่าจ้างแรงงานราคาถูก และยังมีคู่แข่งในการลงทุนไม่มากนัก นอกจากนี้ ประเทศจีนยังมีการลงทุนในตลาดใหม่อย่างแอฟริกามาตั้งแต่ปี 2005 ทั้งสร้างการจ้างงานและให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
.
💡 การเปลี่ยนแปลงทำให้ธุรกิจต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยคาดเดาการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงการเตรียมพร้อมอย่างทันท่วงทีในการปรับเปลี่ยน หากการคาดการณ์นั้นไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด.
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650661?utm_source=category&utm_medium=internal_referral

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...