ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปั้นคนเก่ง ในโลกยุคใหม่ (s.92)

 

ครั้งนี้มีเรื่องของการบริหารคน โดยขอสรุปบทความที่คัดมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ก.ค.63 ซึ่งหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้สรุปองค์ความรู้จากงาน Thailand HR Day 2019 by PMAT โดย คุณภคภัค สังขะสุนทร - Startup Studio Assistant Manager Zero to One Startup Studio by SCG เป็นผู้บรรยาย ภายใต้หัวข้อ How to Enable, Create, and Manage the Talent in the Age to Automation 
.
คนเก่งในยุคปัจจุบันต้องสามารถใช้งาน "ระบบอัตโนมัติ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ก็จะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ โดยคนเก่งต้องมี DNA ที่สามารถตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องมีคุณสมบัติโดดเด่น 5 ด้าน ประกอบด้วย
1. เป็นส่วนหนึ่งของ community ที่มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทำให้สามารถต่อยอดธุรกิจได้ง่าย รวดเร็ว.
2. มีการเข้าร่วมงาน event เพื่อแชร์ประสบการณ์ต่างๆ เนื่องจากการสอนถือเป็นการเรียนรู้ซ้ำในรูปแบบหนึ่ง
3. มีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านอื่นๆ
4. กล้าตั้งคำถามที่สมควรถาม และเปิดกว้างต่อความท้าทายรวมทั้งคำถามจากผู้อื่น
5. เข้าร่วมในโครงการที่มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น
.
ในอนาคตองค์กรจะรั้ง talent ได้ยากขึ้น ซึ่งเหตุผลหนึ่งคือคนเก่งมักมองหางานที่ท้าทายมากขึ้นเสมอ ทำให้การสร้างและบริหารจัดการบุคคลากรกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้ประเทศไทยของเรามีแนวโน้มต้องจ้างบุคคลากรเหล่านี้มาจากต่างประเทศและองค์กรต่างๆ มีแนวโน้มในการแข่งซื้อตัว talent กันมากยิ่งขึ้นด้วย.  โดยกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับ talent ต้องพิจารณาจากภาพรวมของกลยุทธ์ขององค์กรด้วย
.
ยกตัวอย่างของ SCG ซึ่งได้มีการตั้งโครงการ "Zero To One Startup Studio" เพื่อสนับสนุนพนักงานได้คิดค้นนวัตกรรม โดยภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีโครงการย่อย 3 โครงการ ได้แก่
1. Internal Startup Program - ให้พนักงานรวมทีมกันเพื่อนำเสนอไอเดียทางธุรกิจ โดยทีมงานจะต้องหาผู้สนับสนุน หาผู้ร่วมทุน และเมื่อธุรกิจมีมูลค่าสูงตามเกณฑ์กำหนด SCG จะร่วมลงทุนในธุรกิจดังกล่าว
2. Venture Builder - มีจุดมุ่งหมายในการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) จากคนเก่งภายในและภายนอกองค์กร
3. Innovation Catalyst - สนับสนุนให้นวัตกรรมที่คิดและพัฒนาได้ภายในองค์กรก้าวไปถึง Commercialize ทำการค้าและสร้างรายได้ได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยประเมินไอเดียและปัญหา รวมถึงเป็นโค้ช
.
ตัวอย่างที่ได้กล่าวมาเป็นบริบทหนึ่งที่เหมาะสมกับองค์กร SCG ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับองค์กรอื่นๆ ดังนั้นแนวทางในการบริหารจัดการคนเก่ง ไม่มีสูตรตายตัวแน่นอน เพราะโจทย์ของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน ซึ่งคงต้องมองหาพิจารณากลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทกับองค์กรของเรา โดยอาจนำตัวอย่างจากองค์กรอื่นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสม

#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ก.ค. 63 หัวข้อ "เทคนิคปั้น Talent รับมือโลกยุคอัตโนมัติ"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...