ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Insight เปิดใจ Gen Z (s.90)


ถึงแม้สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทำให้เกิดการ lockdown ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ หยุดชะงัก และผู้คนต้องปรับตัวกับสภาพการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ซึ่งต่างจากการใช้ชีวิตในแบบเดิมเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ดีกลุ่มคน Gen Z ดูเหมือนจะมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวดังกล่าวน้อยที่สุด โดยกลุ่มคนดังกล่าวถือเป็นกลุ่มคนที่มีช่วงอายุตั้งแต่ประมาณ 13-23 ปี คิดเป็นประมาณ 30% ของประชากรในประเทศไทย โดยกลุ่ม Gen Z นั้นมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี. 
.
มีผลงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทหลักสูตร Executive MBA ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ของกลุ่มคน Gen Z พบทัศนคติที่น่าสนใจ ดังนี้
.
1. FUN สนุกสุดเหวี่ยงกับกิจกรรมสุดชิค - ขณะที่คนทั่วไปจะรู้สึกเบื่อหน่ายในช่วงที่กักตัวอยู่บ้าน แต่กลุ่ม Gen Z กลับสนุกกับการเรียนออนไลน์และกิจกรรมบันเทิงออนไลน์ต่างๆ เช่น การถ่ายวีดีโอผ่าน TikTok, การปาร์ตี้ผ่าน ZOOM Live, การเข้าคลาสออกกำลังกายออนไลน์ เป็นต้น

2. FREEDOM อิสระมาพร้อมกับคุณค่าของชีวิต - เมื่อการเรียนออกไลน์ทำให้ชีวิตมีอิสระมากขึ้น กลุ่ม Gen Z จึงเอาเวลาที่เหลือไปทำกิจกรรมหรืองานที่ตัวเองชอบได้ โดยมีการให้ความสำคัญกับ Work Life Balance มีการเริ่มทำงานพิเศษหารายได้ และวางแผนการเงินมากขึ้น

3. FRIEND เพื่อนเต็มที่ด้วยกันทุกสถานการณ์ - กลุ่ม Gen Z มีการพูดคุย ส่งความคิดถึงกันผ่าน Social Media ตลอด  มีการสร้าง Challenge ต่างๆ ในออนไลน์ ทำให้คนกลุ่มดังกล่าวยังคงมีปฏิสัมพันธ์กันอยู่ตลอดแม้จะถูกกักตัว

4. FINDING ค้นหาและประสบการณ์สำคัญกว่าความมั่นคง - Gen Z อยู่ในวัยที่พยายามค้นหาตัวเอง ตามหาความฝัน ชอบลองงานใหม่ๆ และชอบพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีและความสามารถด้านต่างๆ เพิ่มเติม

5. FEAR OF MISSING OUT กลัวตกกระแสและต้องแชร์ก่อนใคร - ติดตามข่าวสารใหม่ๆ แทบตลอดทั้งวัน และไม่พลาดการแชร์เรื่องราวลงในพื้นที่ออนไลน์  กลุ่ม Gen Z ยังตื่นตัวเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย ซึ่งถือเป็นเทรนด์ใหญ่ในยุคปัจจุบันนี้ 
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ก.ค. 63 คอลัอมม์ Think Marketing is all around โดย รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...