.
รศ.วิทยากร เชียงกูล ได้ลงบทความในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 ก.ค.63 ในคอลัมม์ปฏิรูปประเทศไทย เรื่องบทความว่า "แนวคิดวิกฤตสิ่งแวดล้อมของ ฟริตจอฟ คาปร้า" ซึ่งถึงแม้เริ่มแรกจะฟังเหมือนเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดูน่าเบื่อ แต่เนื้อหาของบทความได้ผูกโยงแนวคิดที่น่าสนใจไว้ชวนให้ขบคิด ครั้งนี้จึงความจดเก็บบันทึกไว้ โดยมีสรุปได้ดังนี้
.
ฟริตจอฟ คาปร้า เป็นนักฟิสิกส์ และนักคิดเชิงระบบองค์รวม ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Systems Views of Life : A Unifying Vision วิเคราะห์ทัศนะทางวิทยาศาสตร์ ชีวิตและสังคม เชื่อมโยงกับปัญหาระบบนิเวศ รวมถึงวิกฤตระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม
.
คาปร้า เสนอว่าการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในยุโรปเมื่อ 300 ปีที่แล้ว ทำให้มนุษย์มองชีวิตธรรมชาติแบบกลไกอย่างแยกเป็นส่วนย่อยๆ ว่าประกอบด้วยธาตุ โมเลกุลต่างๆ ที่อยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับความคิดจิตใจ
.
อย่างไรก็ดี คาปร้ามองว่าเราควรมองชีวิตและสิ่งต่างๆ ในโลกแบบเป็นกระบวนการ แบบมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง พึ่งพากันและกันอยู่เป็นประชาคม โดยประชาคมในระบบธรรมชาติจะพยายามสร้างความสมดุลอย่างมีพลวัต ภายใต้บริบทของสถานที่ กาลเวลา เพื่อความอยู่รอดและดำเนินต่อไป ไม่มีสิ่งใดอยู่เดี่ยวๆ เป็นเอกเทศได้
.
ปัญหาการขาดควาสมดุลครั้งใหญ่ในปัจจุบัน เกิดจากมนุษย์ในยุคการพัฒนาอุตสาหกรรมในรอบ 200 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมนุษย์พยายามที่เอาชนะธรรมชาติมากกว่าที่จะเรียนรู้อยู่กับธรรมชาติ ทั้งนี้คาปร้าได้วิจารณ์ระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมว่าเป็นตัวการที่สำคัญและรัฐบาลก็ไม่กล้าที่จะปฏิรูป. เป็นความผิดของนักคิด นักวิทยาศาสตร์ในยุคการทำโลกสว่างด้วยเหตุผลและการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ของโลกตะวันตกมากกว่าที่จะมองว่าเป็นความผิดของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน
.
สุดท้าย รศ.วิทยากร ได้ลงท้ายไว้น่าสนใจในบทความซึ่งยกตัวอย่างของ เกรต้า ซึ่งเป็นเด็กผู้หญิงชาวสวีเดนอายุ 14 ปี ที่ขึ้นมาประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมจนเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก และมองกลับมายังประเทศไทยที่เด็กวัยรุ่นไทยที่มักไม่ได้สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังไม่รู้ภาษาในเรื่องชีวิตสังคมและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ควรรู้ ซึ่งอาจเป็นเพราะระบบการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเป็นแบบจารีตนิยม ได้สอนให้เข้าใจชีวิต ธรรมชาติ สังคม แบบองค์รวม รวมถึงการวิเคราะห์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น