บทความในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 ก.ค.63 คอลัมม์มองมุมใหม่ โดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ เรื่อง "นิยามความสุขของแต่ละวัย" ได้ให้มุมมองข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ คนแต่ละวัยจะมีวิธีการในการแสวงหาความสุขเพื่อชดเชยกับช่วงโควิดที่ผ่านมา ด้วยรูปแบบและวิธีที่แตกต่างกัน จึงอยากสรุปมาจดเก็บบันทึกไว้ ดังนี้
.
คนช่วง "วัยรุ่น รวมถึงวัยทำงานช่วงต้น" - โดยคนในช่วงอายุดังกล่าวมักจะเป็นการได้ออกไปทำในสิ่งที่ท้าทาย แปลกใหม่ เจอคนใหม่ๆ. ในขณะที่ "คนช่วงวัยกลางคน" มักจะเป็นการได้อยู่กับครอบครัว การนั่งดูหนัง หรืออ่านหนังสืออย่างสงบที่บ้าน หรือการได้พบเจอ กินข้าว ออกกำลังกายกับเพื่อนฝูงที่ไม่ได้เจอกันมานาน
.
สำหรับคนช่วง "เมื่อเจริญวัย" ซึ่งมีอายุมากขึ้น นิยามของความสุขก็จะค่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการไปพร้อมๆ กับวัย กิจการหลายๆ ประการที่เคยทำแล้วมีแล้วความสุขดังเช่นวันรุ่นหรือวันทำงานก็มักจะไม่ได้นำไปสู่ความสุขเหมือนในอดีต อย่างไรก็ดี ในลักษณะนี้จะไม่ได้หมายความว่าความสุขของคนวัยนี้จะลดน้อยลง แต่เป็นเพราะนิยามของความสุขนั้นแตกต่างกันตามวัย
.
มีนักจิตวิทยาทางด้านสังคมได้ให้คำอธิบายต่อปรากฏการณ์ความสุขที่เปลี่ยนไปในแต่ละวัยว่าเกิดจากปัจจัยกระตุ้นหรือจูงใจที่แตกต่างกัน โดย "ช่วงวัยรุ่นหรือวัยทำงาน" จะเป็นช่วงที่มีแรงจูงใจแบบ "Promotion motivation" มองเป้าหมายในสิ่งที่ต้องการบรรลุ ให้ความสำคัญกับความหวังในอนาคต และเชื่อว่าสามารถทำและบรรลุในเป้าหมายได้
.
แต่เมื่อเจริญวัยขึ้น แรงจูงใจจะเริ่มเปลี่ยนเป็น "Prevention motivation" โดยเป้าหมายจะเป็นการป้องกันสิ่งที่มีอยู่ หลีกเลี่ยงการสูญเสีย และทำให้ชีวิตอยู่ได้อย่างราบรื่น คนในกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่ และรักษาสิ่งนั้นให้คงอยู่ต่อไป
.
💡 ความสุขของแต่ละคนอาจแตกต่างกันตามวัย ลักษณะนิสัย และสภาพแวดล้อม จากบทความที่ได้กล่าวมาจะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของวิธีการหาความสุขของคนในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งทำให้เราไม่สามารถตัดสินความากน้อยของความสุขของผู้อื่นโดยเอาตัวเราเป็นบรรทัดฐานได้เสียทีเดียว ซึ่งการเข้าใจนิยามของความสุขนั้น จะทำให้เราเข้าใจอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและมีความสุขมากขึ้น.
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น