แนวคิด "โฮโมอีโคโนมิคัส" (homo economicus) หรือ "มนุษย์เศรษฐศาสตร์" โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างดีไม่มีข้อผิดพลาดซึ่งจะมีเป็นจำนวนที่เล็กน้อยมาก สอดคล้องกับกับภาพของมนุษย์ที่ตำราเศรษฐศาสตร์เสนอไว้ ในขณะนี้คนทั่วๆ ไปนั้นไม่ได้เป็นมนุษย์เศรษฐศาสตร์แต่เป็น "โฮโมเซเปียนส์" (homo sapiens) หรือเป็นมนุษย์ธรรมดาทั่วไปเท่านั้น
.
มีงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ซึ่งทำการศึกษากระบวนการประเมินและตัดสินใจของผู้คน ซึ่งได้ค้นพบคือ ชาวเศรษฐ์ไม่ได้คาดการณ์อย่างแม่นยำโดยสมบูรณ์ เพียงแต่จะคาดการณ์อย่างเป็นกลางโดยปราศจากความเอนเอียง สามารถผิดพลาดได้ แต่เป็นการผิดพลาดที่ไม่มีแบบแผน ไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้า. ในทางตรงข้าม ชาวมนุษย์มักจะมีการคาดการณ์ในแบบที่สามารถทำนายได้บ่อยๆ
.
โดยงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่า การคาดการณ์ของมนุษย์เรานั้นเอนเอียงและมีช่องโหว่ รวมถึงการตัดสินใจ โดยมีตัวอย่างหนึ่งคือ "ความยึดติดในสภาพที่เป็นอยู่" (status quo bias) ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปมักมีแนวโน้วที่จะยอมรับกับสภาพปัจจุบันหรือค่าเริ่มต้น (default option) ที่ถูกกำหนดมา ทั้งนี้งานวิจัยได้เผยถึงประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือ หนึ่ง อย่าประเมินพลังของความเฉื่อยต่ำเกินไป และ สอง เราสามารถใช้พลังดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
.
โดยผลลัพธ์จากค่าเริ่มต้นที่ถูกกำหนดมาอย่างรอบคอบจะแสดงให้เห็นถึงพลังของการสะกิด (การชักนำหรือผลักดันพฤติกรรม) ได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวมนุษย์มักได้รับอิทธิพลจากการสะกิดอย่างมาก ดังนั้นเมื่อเราใช้แรงจูงใจควบคู่กับไปการสะกิด เราย่อมสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนและช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ในสังคมได้ดีขึ้น เช่น โรคอ้วน เป็นต้น อีกทั้งยังรักษาเสรีภาพทางเลือกของทุกคนเอาไว้ด้วย
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : หนังสือ Nudge โดย Richard H. Thaler และ Cass R. Sunstein จัดทำและแปลเป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ We Learn
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น