แม้ปัจจุบันเริ่มมีการฟื้นตัวของธุรกิจให้ได้เห็นบ้างภายหลังการผ่อนคลายการปิดเมือง โดย Google mobility index ชี้ให้เห็นถึงการที่ผู้คนเดินทางไป grocery ในระดับที่มากขึ้นกว่าช่วงก่อน COVID +4% แต่ยังไปห้างและสถานสันทนาการลดลง -7% หรือกรณีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ -12% ในขณะที่ข้อมูลของ TripAdvisor พบการฟื้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดือน เม.ย. แต่ยังน้อยกว่าเดิมช่วงก่อน COVID ค่อนข้างมาก และการฟื้นตัวนี้เป็นไปแบบกระจุกอยู่ที่ budget hotel และโรงแรมรอบๆ กทม. อย่างไรก็ดีการฟื้นตัวยังมีความเสี่ยงจากความเปราะบาง 3 ด้าน ได้แก่
.
1. แนวโน้มการจ้างงานและรายได้ที่ซบเซา - อัตราการว่างงานภายในระบบประกันสังคมกระโดดมาอยู่ที่ 3.5% ในเดือน มิ.ย. ขณะที่ข้อมูลจาก JobsDB.com แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งงานทที่เปิดรับเดือน ก.ค. ลดลงจากช่วงก่อน COVID ถึง -17% ในทุกหมวดธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ ท่องเที่ยว และเครื่องนุ่งห่ม
.
2. ปัญหา Debt Overhang ของภาคครัวเรือนจะมีความรุนแรงขึ้น - ความเปราะบางของภาคครัวเรือนตั้งแต่ช่วงก่อน COVID โดยสัดส่วนระดับหนี้ต่อรายได้ครัวเรือนทั้งปีเพิ่มอยู่ที่สูงสุด 99% จากการสำรวจในปี 2019 โดย 60% ของครัวเรือนมีเงินออมเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้ผลกระทบจาก COVID ยิ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวมีความรุ่นแรงเพิ่มมากขึ้น
.
3. ความเชื่อมั่นได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนที่อยู่ในระดับสูง - แม้ว่าภาพรวม เศรษฐกิจอาจได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่ตัวเลขความเสี่ยงของเศรษฐกิจหลายตัวยังมีแนวโน้มแย่ลงได้อีก โดยเฉพาะตัวเลขการเปิดปิดกิจการของภาคธุรกิจ โดยข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่าธุรกิจปิดกิจการในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อน และการเปิดธุรกิจลดน้อยลงถึง 13%
.
ความเปราบางที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ภาคครัวเรือนยังคงต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ให้ความสำคัญกับการออมมากขึ้น โดยภาครัฐควรต้องมีบทบาทในการปรับตัวของภาคครัวเรือนผ่านการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและตรงจุดมากขึ้น ตลอดจนมาตรการภาษีหรือการลดต้นทุนมากขึ้น และรวมถึงการปรับทักษะของแรงงานให้ตอบโจทย์ของอนาคต
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ก.ค. 63 คอลัมม์ก้าวทันเศรษฐฏิจ โดย ดร.ยรรยง ไทยเจริญ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น