บทความล่าสุดของ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมม์มุมมองใหม่ วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ได้กล่าวถึงเรื่อง ESG ในมุมมองของการลงทุนไว้ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งครั้งนี้ขอจดเก็บบันทึกไว้ โดยมีความสำคัญคือ
.
มุมมองผลการดำเนินงาน
ในทางวิชาการได้มีการหาความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการกับการให้ความสำคัญในด้านความยั่งยืน โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยพบว่า 62% ของงานวิจัยกว่า 2,000 ชิ้น พบว่า ESG มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัท ขณะที่มีเพียง 10% ที่ปัจจัยทั้งสองเป็นลบ และส่วนที่เหลือไม่พบความสัมพันธ์
.
มุมมองการบริหารจัดการ
ผู้บริหารที่ให้ความสนใจด้าน ESG มีความเชื่อว่า ESG ที่ดีจะส่งผลทำให้ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของบริษัทออกมาดี ทำให้สามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถได้ นอกจากนี้ยังมีบทความของ McKinsey ที่ได้กำหนดกรอบ ESG ที่ส่งผลดีต่อองค์กร โดยมีแนวทางหลัก 5 ข้อ คือ
1. เพิ่มรายได้ - เนื่องจาก ESG ส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ทำให้บริษัทมีโอกาสในการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น
2. ลดต้นทุน - โดยการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ลดความเสี่ยงในการทำผิดต่อกฎระเบียบของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยกำกับต่างๆ เนื่องจากบริษัทเน้นในเรื่องของธรรมาภิบาล
4. สามารถดึงดูด รักษาและทำให้พนักงานมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานมากขึ้น เนื่องจากบริษัทมี purpose ที่ชัดเจนและเพื่อสังคม
5. ช่วยทำให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีขึ้น เนื่องจากมุ่งเน้นในการลงทุนในโอกาสและโครงการที่ให้กับความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนและอนาคต ซึ่งถือเป็นโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ
.
มุมมองของการลงทุน
หุ้นของบริษัท ESG ในระดับที่สูง จะได้รับความสนใจจากบรรดากองทุนและนักลงทุนต่างๆ เนื่องจากความเชื่อจากมุมมองของผลการดำเนินงานและนักลงทุนบางส่วนยังมีความเชื่อว่าตนเองสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการทำดีให้กับโลก
.
สำหรับความท้าทายของ ESG คือ การที่ยังไม่มีนิยามหรือมาตรฐานสากลที่เป็นหนึ่งเดียว ทำให้สามารถตีความ ESG ที่แตกต่างกันได้ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันมีหน่วยงานที่ให้คะแนน ESG เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็คงต้องดูกันต่อไปว่านิยามของ ESG จะมีการบรรจบเข้าเป็นมาตรฐานเดียวกันได้หรือไม่ในอนาคต
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น