ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2020

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ กับการตอบโจทย์ลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (s.122)

 "...คาดการณ์ว่ายอดขายของผู้ประกอบการจะกลับมาสู่ระดับปกติก่อนเกิด COVID-19 (ยอดขายปี 2019) ได้อย่างเร็วในปี 2022 โดยโครงการแนวราบจะเป็นสัดส่วนหลัก. ดังนั้นผู้ประกอบการใควรมีการปรับตัวโดยปรับกลยุทธ์เพื่อให้ตอบโจทย์..."   . สภาวะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่เอื้ออำนวยดังเช่นในปัจจุบันจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2019 และจากอุปทานที่ผู้ประกอบการเพิ่มความระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่มากขึ้น  โดยผลของ COVID-19 ทำให้ฝั่งอุปสงค์และอุปทานของอสังหาริมทรัพย์ยิ่งแย่ลงไปมากขึ้นโดยเฉพาะโครงการประเภทคอนโดมิเนียม. ทั้งนี้ EIC โดยธนาคารไทยพาณิชย์ ได้คาดการณ์ว่ายอดขายของผู้ประกอบการจะกลับมาสู่ระดับปกติก่อนเกิด COVID-19 (ยอดขายปี 2019) ได้อย่างเร็วในปี 2022 โดยโครงการแนวราบจะเป็นสัดส่วนหลัก. เมื่อสภาพบรรยากาศธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ควรมีการปรับตัวโดยปรับกลยุทธ์เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ได้แก่ . 1. การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อกระตุ้นผู้บริโภค - โดยการนำเทคโนโลยีเช่น AR หรือ VR รวมถึงการทำ Live จะช่วยกระตุ้นการซื้อและเป็นช่...

เมื่อข้อมูลที่มากขึ้น สร้างความสับสน (s.121)

"...ความรู้สึกไม่แน่นอนเป็นความรู้สึกที่ส่งสัญญาณให้สมองของเราพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อค้นหาคำตอบของความไม่แน่นอนนี้ ซึ่งในบางกรณีมีข้อยกเว้นสำหรับการที่ข้อมูลมากขึ้นจะนำพาให้เกิดความสับสนมากขึ้นได้เช่นกัน..."   . โดยทั่วไปแล้วการมีข้อมูลที่มากขึ้นจะช่วยสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจในเรื่องหนึ่งมากขึ้น อย่างไรก็ดีบางกรณีมีข้อยกเว้นสำหรับการที่ข้อมูลมากขึ้นจะนำพาให้เกิดความสับสนมากขึ้นได้เช่นกันเมื่อมีความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ และ ความรู้เข้าใจที่น้อยในเรื่องนั้นๆ ยกตัวอย่างของกรณี Covid-19 ที่มีข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ออกมามากมายซึ่งมีความขัดแย้งกันเอง สร้างความสับสนให้แก่ประชาชน เป็นต้น. ความรู้สึกไม่แน่นอนเป็นความรู้สึกที่ส่งสัญญาณให้สมองของเราพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อค้นหาคำตอบของความไม่แน่นอนนี้ แต่บางกรณีเช่น Covid-19 ก็ทำให้เราพยายามที่จะค้นหาคำตอบเช่นกัน แต่ปัญหาดังกล่าวมีความไม่แน่นอนที่สูงรวมถึงทิศทางผลลัพธ์ที่จะออกมา ทำให้การยิ่งค้นหายิ่งมีโอกาสเกิดความสับสน.  . ความไม่แน่นอน มักแบ่งแยกออกองค์ประกอบได้เป็นอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ความน่าจะเป็น, ความคลุมเครือ และความ...

เมื่อการทำงานของคุณรู้สึกไม่มีความหมาย (s.120)

"...ความรู้สึกของการทำงานที่ไม่ได้มีความหมายกับตัวเรา เป็นการทำงานที่ทำตามเพียงหน้าที่ซึ่งไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นหรือมีส่วนร่วมในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ ซึ่งการที่เราปรับมุมมองให้มองในสิ่งที่เล็กลงมาในส่วนที่เราควบคุมได้ สิ่งนี้จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นและมีความหมายไปกับงานที่เราทำมากขึ้น..."   สิ่งที่คนทำงานมักมีประสบการณ์พบเจอเมื่อทำงานไปซักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยกลางคน คือ ความรู้สึกของการทำงานที่ไม่ได้มีความหมายกับตัวเรา เป็นการทำงานที่ทำตามเพียงหน้าที่ซึ่งไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นหรือมีส่วนร่วมในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ.  เทคนิคบางอย่างสามารถนำมาใช้เพื่อทำให้คุณรู้สึกดีกับงานและสร้างความหมายในการทำงานให้กับคุณประกอบด้วย  . 1. สร้างความหมายให้กับตนเอง โดยเริ่มทำในสิ่งเล็กๆ - ความรู้สึกไม่มีความหมายในการทำงานส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เรารู้สึกไม่สามารถควบคุมการทำงานหรือผลลัพธ์ของงานได้ ซึ่งโดยทั่วไป งานหนึ่งๆ มักมีผู้คนมากมายเกี่ยวข้องทำให้ยากต่อการที่ใครคนหนึ่งจะควบคุมการทำงานหรือผลลัพธ์ได้ทั้งหมด. ดังนั้นการที่เราปรับมุมมองให้มองในสิ่งที่เล็กลงมาในส...

แก้ปัญหาใหญ่ เริ่มที่ปัญหาเล็กๆ (s.119)

 "...เมื่อขนาดของปัญหาที่ใหญ่ที่กระตุ้นให้ผู้คนต้องรีบหาแก้ไขปัญหา คุณภาพของความคิดและการกระทำมีแนวโน้มของผู้ที่รับผิดชอบนั้นมักจะตกลง อันเนื่องมาจากความผิดหวัง อารมณ์เครียด หรือรู้สึกทำอะไรไม่ถูก..."   . ผู้คนจำนวนมากมักตอบสนองต่อปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยพยายามทำในสิ่งที่ใหญ่เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีทางที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาใหญ่ ไม่ใช่การรื้อ ลบ หรือสร้างอย่างทันทีทันใด แต่เป็นการการค่อยปรับเปลี่ยนจากสิ่งเล็กๆ ยืนหยัดต่อผู้คนที่ไม่เห็นด้วย และทำอย่างต่อเนื่อง หรืออาจเรียกการกระทำนี้ว่าเป็นการสร้าง "ชัยชนะเล็กๆ".  ทั้งนี้ "ชัยชนะเล็กๆ" อาจนิยามได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง สร้างความสำเร็จ สร้างผลลัพธ์ที่มีผลกระทบเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่. . ผู้คนมักให้นิยามของปัญหาที่รุนแรงหรือมีขนาดของปัญหาที่ใหญ่ ในทางที่รู้สึกว่าปัญหานั้นใหญ่เกินความสามารถของคนใดคนหนึ่ง และส่งผลให้ไม่เกิดการกระทำใดๆ ในการแก้ไข.  ซึ่งเมื่อขนาดของปัญหาที่ใหญ่ที่กระตุ้นให้ผู้คนต้องรีบหาแก้ไขปัญหา คุณภาพของความคิดและการกระทำมีแนวโน้มของผู้ที่รับผิดชอบนั้...

11 แหล่งที่มาของ Disruption ที่องค์กรควรติดตาม (s.118)

 "...การกระจายความมั่งคั่ง โดยอาจมองเป็ฯการกระจุกตัวความมั่งคั่งหรือการกระจายตัวความมั่งคั่งในแต่ละชุมชน เป็นสาเหตุหลักหนึ่งที่จะทำให้เกิดการพลิกผันได้..."   บทความในวารสาร MIT Sloan Management Review ได้นำเสนอบทความของศาสตราจารย์ด้านการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ ชื่อ ศ. เอมี่ ค็อบบ์ ซึ่งเขียนเกี่ยวกับบทความที่เกี่ยวแหล่งที่มาของการพลักผันที่บริษัทต้องคอยจับตา โดยกล่าวว่านับจากปี 2020 นี้เป็นต้นไป โลกของเรามีโอกาสพลักผัน (Disruption) จาก 11 ปัจจัย นี้ . 1. การกระจายความมั่งคั่ง - การกระจุกตัวความมั่งคั่งหรือการกระจายตัวความมั่งคั่งในแต่ละชุมชน เป็นสาเหตุหลักหนึ่งที่จะทำให้เกิดการพลิกผันได้ 2. การศึกษาสมัยใหม่ - คนทุกระดับสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น และถือเป็นปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรม 3. โครงสร้างพื้นฐาน - ชุมชนที่มีโครงสร้างที่สมบูรณ์ทันสมัยจะมีโอกาสในการสร้างนวัตกรรมพลิกผันสังคมโลกได้มาก 4. รัฐบาล - องค์กรปกครองในทุกระดับ รวมถึงนยบายของพรรคการเมือง เป็นปัจจัยให้เกิดความนิ่งเฉย หรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม 5. ภูมิศาสตร์ทางการเมือง - เครือข่ายความสัมพันธ์ร...

การจัดการความเห็นต่างในครอบครัว (s.117)

 "...เมื่อการสนทนาไม่นำพาไปสู่จุดร่วมหรือการแก้ปัญหา การเปลี่ยนหัวข้อสนทนาด้วยความสุภาพหรือชักชวนทำกิจกรรมอื่น ก็อาจเป็นแนวทางที่ดีกว่าที่จะสนทนาต่อไปโดยไม่มีจุดหมาย..." .   สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐ (American Psychological Association) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งในครอบครัวและความเห็นต่างไว้เป็นแนวทาง 7 ข้อด้วยกัน ดังนี้ . 1. แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง และรับฟัง - เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความต้องการและข้อห่วงใยของอีกฝ่าย  2. เปิดใจและมีความเมตตาปราณี - เมื่อฟังและก็ควรเปิดใจ เข้าใจถึงเหตุผลที่มาของความคิดเห็นที่แตกต่าง มีสติในการพูด และหลีกเลี่ยงคำเสียดสีต่างๆ 3. มีสติเมื่อบทสนทนาเกิดความเครียด - การสนทนาในความเห็นต่าง มักมีโอกาสที่จะเกิดความเครียด ดังนั้นจึงควรมีสติ หลีกเลี่ยงการปะทะ และลดความร้อนแรงของการสนทนาให้น้อยลง หากไม่สามารถทำได้ ควรหยุดการเจรจาซักพักจนกว่าจะระงับอารมณ์ลงมาได้ 4. คิดถึงจุดประสงค์เป้าหมายของการสนทนา และยอมรับข้อเท็จจริงที่เราอาจไม่สามารถเปลี่ยนใจคู่สนทนาได้ - การยอมรับข้อเห็นต่างไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่าย แต่ถือเป็นโอกาสในการแสดงน้ำใจที่...

Creating Shared Values กับ แนวทางกลยุทธ์ (s.116)

"...CSV เป็นการดำเนินธุรกิจที่ประสานประโยชน์ระหว่างธุรกิจและสังคมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม ซึ่งแนวทางหนึ่งคือการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางสังคม..."   Creating Shared Values เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ประสานประโยชน์ระหว่างธุรกิจและสังคมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม  โดยมีคำแนะนำสำหรับองค์กรในการดำเนินกลยุทธ์ ดังนี้ . 1. Reconceiving Products and Markets - เป็นการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อมนั้นถือเป็นปัญหาใหญ่และพบเห็นได้ทั่วไป ในขณะที่ธุรกิจมักจะมองหาโอกาสทางธุรกิจในตลาดเดิมซึ่งมีการแข่งขันสูง ทำให้มักมองข้ามในโอกาสนำเสนอสิ่งที่ดีที่สมารถตอบโจทย์ของทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมไปในตัว ตัวอย่างเช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับเรื่องสุขอนามัย เป็นต้น 2. Redefining Productivity in the Value Chain - ปรับปรุงผลิตภาพในกระบวนการการผลิต ของเสีย และการปฏฺบัติที่ส่งผลกระทบทางลบ  ทั้งนี้ห่วงโซ่คุณค่าข...

การรักษาแรงจูงใจ เมื่อปราศจากการให้คำแนะนำ (Feedback) (s.115)

 "...คนทำงานที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง มักเป็นผู้ที่มีแรงจูงในการทำงานที่ดี  โดยการกระตุ้นในพนักงานสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน..." การทำงานที่บ้านหรือทำงานนอกออฟฟิต (work anywhere) เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เริ่มพบเห็นทั่วไปได้ในองค์กร  การทำงานในลักษณะดังกล่าวมีข้อเสียหนึ่งเมื่อเทียบกับการทำงานที่ออฟฟิต คือ การได้รับคำแนะนำ (Feedback) จากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานที่น้อยลงเช่นกัน ซึ่ง Feedback ที่น้อยลงมีแนวโน้มที่จะลดทอนกำลังใจในการทำงาน ลดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และอาจส่งผลถึงผลงานที่ออกมา.  โดยทั่วไป คนทำงานที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง มักเป็นผู้ที่มีแรงจูงในการทำงานที่ดี  โดยการกระตุ้นในพนักงานสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานให้พนักงานได้ทราบ.  อย่างไรก็ดีในสภาวะการทำงานนอกออฟฟิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้การได้รับข้อเสนอแนะเป็นไปได้ยาก  พนักงานจึงจำเป็นต้องสามารถสร้างความมั่นใจและสร้างแรงจู...

ทักษะที่จำเป็น (s.114)

"...คนทำงานต้องมีการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น เนื่องจากรูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนแปลง การทำงานจึงต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามอย่างต่อเนื่อง..." ทักษะของคนทำงานภายหลังการระบาดของ COVID-19 โดย คุณธนชาติ นุ่มนนท์ ได้โดยสรุปจาก Bernard Marr ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation มีประเด็นที่ทักษะที่สำคัญจำนวน 9 ข้อ สรุปได้ดังนี้ . 1. ปรับตัวและมีความยืดหยุ่น - เนื่องจากรูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนแปลง การทำงานจึงต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตามอย่างต่อเนื่อง 2. เข้าใจเทคโนโลยี - องค์กรและบริษัทต่างๆ เร่งปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีมากขึ้นภายหลังจาก COVID-19 ดังนั้นคนทำงานจำเป็นต้องมีทักษะมากขึ้นเช่นกัน 3. มีความสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม - องค์กรจำเป็นต้องมีความสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในการสร้างสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุคปัจจุบันที่มีความต้องการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง 4. มีทักษะการใช้ข้อมูล - องค์กรจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการวิเคราะห์หรือใช้ในการคาดการณ์เรื่องต่างๆ ดังนั้นคนทำงานจึงจำเป็นต้องรู้จักและใช้ข้อมูลที่มีให้เกิดประโยชน์ 5. คิดเชิงวิเคราะห์ได้ - คนท...

Gen X กับ การใช้ชีวิต (s.113)

  "...ประชากรใน Gen นี้เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด อยู่ในช่วงเวลาที่มีเงิน มีตำแหน่ง มีพลัง ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นเป้าหมายให้กับนักการตลาดจำนวนมาก..." . Gen X คือผู้ที่มีอายุในปัจจุบันอยู่ในช่วงประมาณ 40-54 ปี โดยหากพิจารณาในโลกของเราจะพบว่าประชากรใน Gen นี้เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด อยู่ในช่วงเวลาที่มีเงิน มีตำแหน่ง มีพลัง ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นเป้าหมายให้กับนักการตลาดจำนวนมาก ครั้งนี้ เราจะวิเคราะห์ถึงทัศนคติในการใช้ชีวิตและการจับจ่ายสินค้าที่โดดเด่น เพื่อให้นักกลยุทธ์ทั้งหลายได้ทำความเข้าใจและปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับคนกลุ่มดังกล่าวต่อไป ประกอบด้วย . 1. Protect - กลุ่ม Gen X เป็นกลุ่มที่คิดถึงครอบครัวเป็นอันดับแรก ต้องการปกป้องและเคียงข้างคนในครอบครัวไปนานๆ จึงตระหนักถึงสุขภาพอย่างจริงจัง  คนกลุ่มนี้มีชีวิตที่ Healthy มากขึ้น ทั้งเรื่องของการกินและการออกกำลังกาย  มีการวางแผนการเงินอย่างละเอียด มีความสนใจในการทำประกันเพื่อการลงทุน. 2. Privacy - โดยจากสถานการณ์วิกฤตโรค COVID-19 ทำให้คนกลุ่มนี้ค่อนข้างให้ความสำคัญและประพฤติตนตามมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสม...

HR กับหลักการหาโอกาส (s.112)

   "...เนื่องจากคนแต่ละคนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน รวมไปถึงผลกระทบจากวิกฤตที่แตกต่างกัน ดังนั้น HR จึงควรตอบสนองแบบลงลึกให้เหมาะสมในแต่ละบุคคลเช่นกัน พร้อมทางเลือกให้แก่พนักงาน..." ข้อคิดจากงาน "THAILAND HR FORUM 2020" โดยมี Prof. Dr. Dave Ulrich ที่มากล่าวในหัวข้อ "The Future of HR" ได้ให้ข้อคิดดีๆ ในการค้นหาโอกาสของบุคลากร HR ในการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร โดยมี 5 ข้อ ประกอบด้วย . 1. ตอบสนองส่วนบุคคล - เนื่องจากคนแต่ละคนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน รวมไปถึงผลกระทบจากวิกฤตที่แตกต่างกัน ดังนั้น HR จึงควรตอบสนองแบบลงลึกให้เหมาะสมในแต่ละบุคคลเช่นกัน พร้อมทางเลือกให้แก่พนักงาน โดยควรมอบความห่วงใย ใส่ใจความรู้สึก ตั้งใจรับฟังว่าพนักงานกำลังประสบปัญหาอะไร เพื่อช่วยให้พนักงานแต่ละคนได้สร้างความสามารถอันโดดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเองได้ 2. ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี - เนื่องจากเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกได้มากขึ้นกว่าในอดีต โลกของการทำงานในปัจจุบันจึงไม่ใช่เรื่องของสถานที่ และไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกายภาพนัก พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ ดังนั้นจึงไม่สำคัญว่าจะทำงานที่ไหน แ...

บริหารงานใน 90 วันแรก (s.111)

"...ไม่ควรเร่งรีบในการปรับเปลี่ยนอะไรในองค์กรภายในช่วง 90 วันแรก จนกว่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานนั้นในแง่ของโครงสร้าง การแบ่งงาน ขั้นตอนการทำงาน..." รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข ได้ลงบทความสรุปคำแนะนำของ คุณไมเคิล วัตกินส์ แห่งสถาบัน IMD (Internation Institute of Mangement Development) ซึ่งเป็นกูรูในด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาภาวะผู้นำ ไว้อย่างน่าสนใจสำหรับคำแนะนำให้ผู้นำที่เพิ่งเข้าทำงานใหม่ว่าควรทำอะไรในช่วง 90 วันแรก ดังนี้ . 🖍  อย่ารีบลงมือ จงสังเกตเรียนรู้หน่วยงานใหม่ - คำแนะนำที่พบได้บ่อยคือ ไม่ควรเร่งรีบในการปรับเปลี่ยนอะไรในองค์กรภายในช่วง 90 วันแรก จนกว่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานนั้นในแง่ของโครงสร้าง การแบ่งงาน ขั้นตอนการทำงาน จุดเด่นจุดด้อยของหน่วยงาน เป็นต้น. วิธีการหนึ่งคือ การทำความรู้จักพูดคุยกับคนในหน่วยงานทุกระดับให้มากที่สุดเพื่อเป็นข้อมูล. 🖍  ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ - โดยอาจเป็นการจัดประชุมให้หัวหน้างานระดับต่างๆ มาช่วยกัน เพื่อให้มีความรู้สึกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สร้างการยอมรับและเข้าใจว่าการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์มีความส...

เพิ่มราคาสินค้า จากความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภค (s.110)

  "..ซึ่งกลยุทธ์ในการตั้งราคาถือเป็นส่วนหนึ่งในการชักจูงลูกค้าเพื่อให้เลือกซื้อสินค้าที่มีราคาสูงนั้น มีตัวอย่างวิธีที่สามารถนำไปใช้ได้ เช่น การสื่อสารในรูปแบบของการ upgrade คุณภาพของสินค้า.." . การนำเสนอทางเลือกให้แก่ลูกค้า โดยการการเพิ่มความหลากหลายของคุณภาพของสินค้า และปรับเปลี่ยนราคาของสินค้าตามคุณภาพที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่เห็นได้โดยทั่วไปในการนำเสนอความหลากหลายของคุณภาพของสินค้าให้แก่ลูกค้าเลือกตามความเหมาะสมและรสนิยม อย่างไรก็ดี ในเบื้องลึกแล้วผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาสูง มากกว่าสินค้าที่มีราคาต่ำ ซึ่งกลยุทธ์ในการตั้งราคาถือเป็นส่วนหนึ่งในการชักจูงลูกค้าเพื่อให้เลือกซื้อสินค้าที่มีราคาสูงนั้น มีตัวอย่างวิธีที่สามารถนำไปใช้ได้ดังนี้ . 1. สื่อสารราคาสินค้าที่สูงขึ้น ในรูปแบบที่ของการ "upgrade" คุณภาพของสินค้าที่เพิ่มขึ้น - แทนที่ผู้ประกอบการจะสื่อสารนำเสนอสินค้าโดยแบ่งเป็นระดับคุณภาพหรือระดับราคา เช่น "สินค้าคุณภาพปกติ 100 บาท สินค้าคุณภาพดี 150 บาท" ให้ผู้ประกอบการทำการนำเสนอสินค้าในลักษ...

พายุเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลัง 2563 (s.109)

    "..พายุลูกใหญ่ 3 ลูก ที่จะกระหน่ำพัดพาเศรษฐกิจของโลกไปในช่วงครึ่งปีหลังของ 2563 นี้ ซึ่งจะกระทบความเป็นอยู่รวมถึงธุรกิจของคนทั่วไปโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.." . บทความจาก ดร.บัณฑิต นิจถาวร ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้เล่าให้ฟังถึงพายุลูกใหญ่ 3 ลูก ที่จะกระหน่ำพัดพาเศรษฐกิจของโลกไปในช่วงครึ่งปีหลังของ 2563 นี้ ซึ่งจะกระทบความเป็นอยู่รวมถึงธุรกิจของคนทั่วไปโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบด้วย 1. พายุลูกที่ 1 การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สงบ - ซึ่งแต่เดิมมีการคาดหมายว่าการระบาดน่าจะจบสิ้นช่วงกลางปีหรืออาจเป็นไตรมาส 3 ของปี และต่อจากนั้นก็จะเป็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีผลที่เกิดขึ้นจริงที่เราได้เห็นกันนั้น คือ ปัญหาที่ยังไม่มีวี่แววถึงความสงบหรือลดระดับความรุนแรงของโรคระบาดดังกล่าว หลายพื้นที่ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อีกหลายพื้นที่เริ่มมีการระบาดซ้ำกลับมาให้เห็นอีกครั้งและทำให้ต้องมีการ lockdown ใหม่  2. พายุลูกที่ 2 ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ - ซึ่งภาวะตกต่ำนี้เป็นผลของการระบาด COVID-19 โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย รัสเซีย บลาซิล เป็...

ลูกค้า กับการแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนมือถือที่มากกว่า (s.108)

การค้นพบหนึ่งจากงานวิจัยที่น่าสนใจ คือ ลูกค้าจะยินดีที่จะแชร์ข้อมูลเบื้องลึกหรือเรื่องเกี่ยวกับตนเอง (ส่วนบุคคล) เมื่อพวกเขาทำการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มากกว่าการแชร์ผ่านทางคอมพิวเตอร์บุคคล. ซึ่งคำอธิบายทั่วไป คือ การที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีขนาดที่เล็กและแป้นพิมพ์ต้องการสมาธิในการพิมพ์มากกว่าคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานจำเป็นต้องจดจ่อ และการจดจ่อดังกล่าวทำให้พวกเขาถูกปิดกั้นสมาธิจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ. . ทั้งนี้ เราอาจลองนึกถึงช่วงที่เวลาเรากำลังเขียน email หรือพิมพ์ข้อความเพื่อส่งให้เพื่อนของเราเปรียบเทียบระหว่างทำบนโทรศัพท์เคลื่อนที่กับทำบนคอมพิวเตอร์  เราจะสังเกตได้ว่าช่วงเวลาที่เราทำกิจกรรมดังกล่าวเราจะปิดกั้นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวและให้ความสนใจโดยเฉพาะกับกิจกรรมบนหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่ากิจกรรมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยงานวิจัยได้ระบุถึง 2 เหตุผลสำหรับเหตุการณ์นี้ คือ  1. โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ โดยในเชิงจิตวิทยาแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งเมื่อรู้สึกผ่อนคลาย เราก็จะมีแนวโน้มที่...

แนวคิดก่อนการเปิดเมืองภายหลัง COVID-19 (s.107)

  ที่ผ่านมารวมถึงในปัจจุบัน เรามักจะมีการถกเถียงในเรื่องที่เกี่ยวกับการผ่อนคลายการ lockdown จากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ในลักษณะที่มีเพียง 2 ทางเลือก คือ "เปิด" หรือ "ปิด"  ซึ่งการเปิดหรือปิดนั้นคงไม่มีสูตรใดตายตัวที่จะสามารถให้คำตอบได้ว่าถูกหรือผิด. อย่างไรก็ดี แนวทางในการพิจารณาหลักการของการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวสามารถกล่าวเป็นหลักการออกเป็นได้ 3 ข้อ ดังนี้ . 1. ชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ - การจะตัดสินใจควรเริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวควรเป็นสิ่งที่สามารถบรรลุได้ และความพยายามต่างๆ ต้องมุ่งเป้าไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์นั้น.  ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการเปิด lockdown ควรอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลในประเด็นที่เกี่ยวข้องหลายประเด็น เช่น วัตถุประสงค์ที่ลดจำนวนผู้ติดเชื้อในขณะที่รักษาการจ้างงานให้สูงสุด เป็นต้น  2. กำหนดรายละเอียด - มีความแตกต่างในรายละเอียดอย่างมากในพื้นที่แต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะระหว่างพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงกับพื้นที่ที่มีความหนาแน่นที่ต่ำกว่า.  ทั้งนี้ปัญหาที่มีรายละเอียดแตกต่างกันจะมีแนวทางการแก้...

บริหารเศรษฐกิจมหภาค โมเดล Cowell (s.106)

   ในบทความล่าสุดของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 ส.ค.63 เรื่อง "ข้อเสนอ โมเดลโคเวล บริหารเศรษฐฏิจมหภาค ฝ่าวิกฤต COVID" ได้ให้คำแนะนำข้อเสนอแนะที่น่าสนใจสำหรับการบริหารเศรษฐกิจมหภาค เพื่อให้ประชาชนไม่ยากลำบากจนเกินไปในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะช่วงหลัง COVID นี้ โดยโมเดลจะเน้นการสร้างรายได้ภายในประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อทดแทนรายได้จากต่างประเทศที่หายไป  จึงขอนำมาสรุปเล่าให้ฟัง ดังนี้ . 1. เปลี่ยนจากการเน้น GDP ไปเป็นเน้นการจ้างงาน - การบริหารเศรษฐกิจควรเน้นไปที่การจ้างงานเต็มที่ โดยภาครัฐอาจนำข้อมูลผู้ลงทะเบียนในโครงการต่างๆ มาวิเคราะห์และออกแบบโครงการสร้างงานต่างๆ ที่เหมาะสมกับคนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งการใช้อัตราการว่างงานเป็นดัชนีหลักในการประเมินผล 2. เปลี่ยนวิธีช่วยเหลือจาก "welfare" เป็น "workfare" - รัฐบาลควรเปลี่ยนจากการแจกเงินเป็นการให้เงินโดยแลกกับการทำงานเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งช่วยให้คนว่างงานมีรายได้ต่อเนื่อง ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือเพิ่มทักษะของผู้ว่างงาน 3. เปลี่ยนหน่วยการช่วยเห...

ข้อมูลจากทีมขาย กับการช่วยทีมงานสนับสนุน (s.105)

องค์กรหรือบริษัทที่มีวัฒนธรรมของการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสามารถสร้างคุณค่าให้แก่หน่วยงานภายในได้แทบจะทุกส่วนงาน เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายสนับสนุนลูกค้า หรือแม้กระทั่งฝ่ายกลยุทธ์. และยิ่งองค์กรสามารถนำข้อมูลจากทีมขายซึ่งเป็นทีมที่ได้มีโอกาสพบเจอและรับ feedback จากลูกค้าอยู่ตลอดเวลา นำกลับมาใช้ในการตัดสินใจของหน่วยงานภายในทั่วทั้งองค์กร องค์กรนั้นก็จะยิ่งสามารถสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำได้ดังนี้ ลดช่องว่างของข้อมูลระหว่างทีมขาย และ ทีมการตลาด - ผล Feedback ที่มาจากทีมขาย ตั้งแต่พฤติกรรมของการซื้อไปจนถึงกระบวนการการซื้อสินค้า สามารถนำมาช่วยสนับสนุนทีมการตลาดในการกำหนดคุณลักษณะและกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น.  ได้รับข้อมูลเบื้องลึกจากกลุ่มลูกค้าแต่เนิ่นๆ - ข้อมูลที่ได้จากการสนทนาระหว่างลูกค้ากับทีมขายมีแนวโน้มที่จะเปิดเผยถึงข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับช่องว่างระหว่างตัวผลิตภัณฑ์กับความต้องการของลูกค้า ราคาของสินค้า หรือแม้กระทั่งข้อจำกัดต่างๆ. ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถทำให้การวิเคราะห์รูปแบบการสนทนาโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์เป็นไปได้มากขึ้น อันจะช่วยทีมสนับสน...

เอาชนะความรู้สึกของการทำงานตลอดเวลา (Always-On) (s.104)

  ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้เราสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำงานเฉพาะแต่ในออฟฟิตเพียงอย่างเดียว และประกอบกับการเกิดโรคระบาด COVID-19 ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้กระบวนการของการเร่งพฤติกรรมการทำงานในทุกที่ (Works Anywhere) มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นและเป็นเรื่องปกติมากขึ้น.  อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นความรู้สึกของการที่ต้องทำงานตลอดเวลา (Always-On) คือ ปัญหาของการแยกช่วงเวลาระหว่างเวลาส่วนตัวและเวลางานออกจากกันได้ยากขึ้น.  โดยในช่วงของความปกติใหม่นี้ (New Normal) คนส่วนใหญ่จะยิ่งรู้สึกถึงความเครียดที่เพิ่มขึ้นทั้งความเครียดจากงานที่ทำงานและความเครียดจากครอบครัว ซึ่งคนทำงานหรือพนักงานจำเป็นต้องหาแนวทางป้องกันตนเองจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เรายังรักษาคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีได้ โดยมีวิธีที่อยากแนะนำ คือ . 1. สร้างพลังความตั้งใจให้กับตนเอง - คนที่มีความสามารถที่ควบคุมตนเองได้ จะสามารถบรรเทาความเครียดจากการพฤติกรรมการติดต่อตลอดเวลา (Always-On) ได้มากกว่า เช่น การควบคุมตนเองให้ไม่ดูข้อความจากโทรศัพท์มือถือทุกครั้งที่มีข้อความเข้ามา หรือ การไม่ถูกขัดจังหวะจากงานในที...

คนทำงานยุคนิวรีเทล (s.103)

  เทคโนโลยีดิสรัปขั่นทำให้ธุรกิจค้าปลีกต้องก้าวเข้ายุคของ "นิวรีเทล" ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกยุคใหม่ที่ผนวก Online กับ Office ไว้ด้วยกัน. โดยหากพูดถึง New Retail นั้นจะสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ ได้กว้างๆ ดังนี้ คือ (i) แบบที่ไม่ได้พึ่งพา Online หรือ Offline ทั้ง 100% แต่ยังพอแยกกันออกเป็นช่องทาง  (ii) แบบที่การค้าขายมีทั้ง Online และ Offline แบบแยกกันไม่ออก  (iii) แบบที่คงธุรกิจเดิมแต่นำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมให้ดีขึ้น.  ทั้งนี้ คนยุคใหม่จะมีการใช้ Social Media ที่เก่งและคล่องขึ้น แต่หากในทางธุรกิจแล้วกลับเป็นเรื่องที่แตกต่างจากการใช้งานปกติ ซึ่งคนทั่วไปจะมีทักษะทางด้านนี้ที่น้อย. . ทั้งนี้ เรื่องที่มักจะสร้างปัญหามากที่สุด คือ ความสามารถในการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งต้องมีการส่งให้เร็วที่สุด ดีที่สุด มีต้นทุนที่ถูกที่สุด และมีความเสียหายน้อยที่สุด. โดยธุรกิจค้าปลีกนั้นจะเป็นธุรกิจที่มีผู้เกี่ยวข้องที่มาก ซึ่งมีทั้งผู้ผลิต ผู้ขายสินค้า ผู้ส่งสินค้า ผู้รับสินค้า ผู้เรียงสินค้าหน้าร้าน ผู้สนับสนุนทางการขาย ผู้ให้บริการหลังการขาย ฯลฯ . สำหรับความท้าทายหนึ่งภายหลังจากสถานการณ์ของ...

แนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง 2020 (s.102)

  หลังจากที่หลายประเทศเริ่มกลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง จากที่ได้ Lockdown ในช่วงที่ผ่านมาจากเหตุการณ์การระบาดของไวรัส COVID  อย่างไรก็ดีก็ยังมีอีกบางประเทศที่เริ่มกลับมา Lockdown อีกครั้งจากการระบาดของไวรัสรอบ 2  หรือแม้กระทั่งบางประเทศที่ยังเหมือนไม่จบกับปัญหาไวรัสในรอบแรก.  ครั้งนี้ เพื่อเป็นการฉายภาพปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ในช่วงที่เหลือของปี 2020 จึงขอนำบทวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งได้ประเมิน 3 ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดการเงินของโลก ดังนั้น . 1. มาตรการการปิดเมืองในหลายประเทศที่อาจกลับมาเข้มงวดอีกครั้งจากการระบาด    หลังจากกลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง สถานการณ์ของ COVID ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดยในประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง ภาครัฐได้เริ่มทยอยเปิดเมืองต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาอยู่ในระดับสูง ภาครัฐได้เริ่มมีการเลื่อนการเปิดเมืองหรือเริ่มกลับมาเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการอีกครั้ง ซึ่งการปิดเมืองในครั้งใหม่นี้จะมีความเข้มงวดน้อยลง เนื่องจากรัฐบาลได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 2. มาตรการสนับสนุนของภาครัฐบา...

Introvert กับ การสร้างความสัมพันธ์ (s.101)

  Introvert มักใช้เรียกผู้ที่มีนิสัยเป็นคนพูดน้อย เก็บตัว ไม่ชอบสังคม ชอบอยู่กับตัวเอง. อย่างไรก็ดี ปัญหาหนึ่งของคนประเภทดังกล่าว คือ การเมื่อต้องขึ้นมารับตำแหน่งเป็นผู้นำ ซึ่งอาจเป็นผู้นำทีมงาน ผู้นำหน่วยงาน หรือแม้กระทั่งผู้นำองค์กร ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวจำเป็นต้องมีการข้องเกี่ยวกับคนเป็นจำนวนมาก มักประสบปัญหากับการสร้างความสัมพันธ์กับทีมงานจำนวนมาก. โดยในบทความที่หยิบมานี้ได้ให้คำแนะนำดีๆ สำหรับผู้นำที่มีบุคคลิกดังกล่าวที่จะพัฒนาทักษะการประสานงาน สร้างสัมพันธ์กับบุคคลอื่นประกอบด้วย . การใช้ Social Media เข้าช่วย    การเขียน email บล็อก โพสต์โซเซียลมีเดียต่างๆ ทำให้ผู้นำประเภท Introvert ไม่ต้องไปพบเจอกับคนแบบต่อและมีปัญหาเวลาเมื่อต้องพูดคุย เพราะการทำดังกล่าวโดยผ่าน Social Meida นั้น สามารถทำแล้วแก้ไขได้ทั้งข้อความ น้ำเสียง กิริยาท่าทาง จนกว่าจะพอใจก่อนจะโพสต์ ซึ่งการทำดังกล่าวเปรียบเสมือนการได้ฝึกซ้อมให้กับตนเอง ได้แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจได้พบกับเพื่อนดีๆ หรือโอกาสดีๆ จากโซเชียลมีเดีย รวมถึงทำความคุ้นเคยกับคนอื่นผ่านทาง Social Media. แต่ท...

กับดักของการปฏิบัติการ (s.100)

    การปฏิบัติการในธุรกิจถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้การวางกลยุทธ์ โดยถึงขนาด CEO หลายท่านถึงกับให้ความสำคัญกับการปฏิบัติที่เป็นเลิศมากกว่าการวางกลยุทธ์ที่เหนือชั้น.  โดยหากธุรกิจมีแผนกลยุทธ์ที่เลิศหรูขนาดไหน แต่หากการลงมือปฏิบัติทำได้เพียงแค่ระดับพื้นๆ  เป้าหมายที่วางไว้ก็คงไม่สามารถบรรลุได้. ครั้งนี้จึงขอสรุปเรื่องของ "กับดัก 5 ประการ" ที่องค์กรมักเจอบ่อยครั้งในการปฏิบัติการ พร้อมแนวทางป้องกันเพื่อเป็นจุดให้ระวัง ดังนี้ 1. กับดักความซับซ้อน - ที่พบบ่อยคือความไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย ต่างคนต่างทำงาน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการขาดทิศทางที่ชัดเจนของผู้นำ โดยเฉพาะการลำดับเป้าหมายที่สำคัญ ทั้งนี้หากผู้นำมีการจัดลำดับความสำคัญชัดเจนแล้ว ตัวชี้วัดของเป้าหมายก็ต้องชัดเจนเช่นเดียวกัน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้ในทิศทางเดียวกัน 2. กับดักความกังวล - เป็นลักษณะที่เรามักคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นยากแก่การแก้ไขด้วยเหตุผลต่างๆ มากมาย ซึ่งจะทำให้ความคิดเราวนเวียนไปมาอยู่แต่กับปัญหา และสุดท้ายมักลงเอยด้วยการไม่ได้ทำอะไรเลย. ซึ่งวิธีคิดที่ดีกว่าคือ "การคิดเน้นหาทางออก และลงมือทำ" 3. กับดักความไ...

การสานต่อธุรกิจครอบครัว (s.99)

  ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากมีการบริหารจัดการในลักษณะเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งความยั่งยืนของธุรกิจจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบทอดกิจการจากรุ่นสู่รุ่นและเกี่ยวข้องกับความสามารถของธุรกิจและครอบครัวที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจ SME. ทั้งนี้ความยั่งยืนของธุรกิจจึงมีกลุ่มที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ ผู้นำธุรกิจในรุ่นปัจจุบัน ทายาทธุรกิจในรุ่นต่อไป และสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัว ที่จะมีอิทธิพลต่อธุรกิจของครอบครัว . PwC ได้มีการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สำคัญที่ทายาทธุรกิจนำมาพิจารณาว่า จะสานต่อกิจการของครอบครัวอย่างไร มี 4 ประการได้แก่ 1. Skills - พิจารณาว่าทักษะที่ทายาทมีอยู่ สอดคล้องหรือทิศทางการดำเนินธุรกิจปัจจุบันของครอบครัวหรือไม่  จะสามารถสร้างหรือปรับทักษะ ให้เข้าสู่ทิศทางที่ผู้นำปัจจุบันและสมาชิกในครอบครัวคาดหวังหรือไม่ 2. Scale - ขนาดของธุรกิจต่างกับเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ความคาดหวังของทายาทธุกิจหรือไม่  3. Succession - กระบวนการส่งมอบต่อธุรกิตที่รุ่นปัจจุบันเตรียมตัวสำหรับทายาทรุ่นต่อไปตรงกับใจหรือยอมรับได้สำหรับทายาทหรือไม่ 4. Stakeholders - ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง...

ผู้ประกอบการมือใหม่ กับ การเริ่มต้นธุรกิจบริการ (s.98)

  ธุรกิจบริการถือเป็นธุรกิจที่สามารถเริ่มต้นได้โดยใช้เงินทุนไม่มากนักและไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทางธุรกิจที่มาก โดยที่พบเห็นได้ทั่วไปถือ การขายทักษะแรงงานหรือความเชี่ยวชาญ เช่น การเป็นที่ปรึกษา การให้บริการทำความสะอาด หรือการทาสี ซึ่งบทความวันนี้ได้กล่าวถึงเหตุผลสนับสนุนของการที่ธุรกิจบริการเป็นธุรกิจที่เริ่มได้ง่ายและเหมาะกับผู้ประกอบการมือใหม่  . 1. ใช้เงินน้อยในการเริ่มต้น - ธุรกิจสามารถเริ่มต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ ไม่ต้องมีคลังสินค้า อีกทั้งธุรกิจบริการส่วนใหญ่มักเริ่มมาจากการทำคนเดียว ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายค่าจ้างพนักงาน  2. เริ่มต้นได้เร็ว - ธุรกิจบริการส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเตรียมการล่วงหน้ามากนัก เช่น ธุรกิจบริการทำความสะอาด สามารถประกาศหรือสอบถามคนรู้จักเพื่อหางานได้เลย  โดยภายหลังจากการได้ลูกค้ากลุ่มแรก ผู้ประกอบการควรขอความคิดเห็นหรือขอคำแนะนำ การบอกต่อ เพื่อให้ช่วยเร่งการเติบโตของกิจการได้ 3. ทำเงินได้เร็ว - ธุรกิจบริการสามารถทำเงินได้เร็วเพราะ ส่วนใหญ่มักได้รับเงินภายในไม่กี่วันหรือทันทีเมื่อบริการแล้วเสร็จ  4. สร้างกำไรที...

ออฟฟิตที่ใช่ สำหรับคนทำงาน 2/2 (s.97)

  ต่อจากเรื่องที่เล่าสรุปให้ฟังเมื่อวานนี้เกี่ยวกับออฟฟิตสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งสรุปต่อได้ดังนี้ . การนินทา เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงาน    ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ME by TMB Digital Bankgin ให้นิยามคำนินทาไว้ว่าเปรียบเสมือน Informal Network โดยหากเราไม่มองเป็นการนินทา สิ่งนี้คือการระบายและการแบ่งปันความรู้สึก ความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน.  ทั้งนี้การนินทาอาจไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีเสมอไป เพราะอาจเป็นเครื่องมือสานความสัมพันธ์แบบหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และเป็นเครื่องมือที่สร้างปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างรวดเร็ว.  และสำหรับในเรื่องการทำงาน  Informatal Network ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสามารถช่วยขับเคลื่อนการทำงานให้จบได้เร็ว เพราะมันสร้าง Information Flow ให้เกิดขึ้น . Best office ไม่ใช่ แค่การมี Facility ที่ดีเท่านั้น   คุณจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้จัดการฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ภาครัฐ บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงสิ่งที่กูเกิลทำที่มากกว่าการออกแบบสถานที่ คือมีการออกแบบการเชื่อมโยงคนในองค์กร ซึ่งมีด้วยกัน 7 เรื่อ...

ออฟฟิตที่ใช่ สำหรับคนทำงาน 1/2 (s.96)

  ครั้งนี้เป็นการรวบรวมมุมมองที่เกี่ยวข้องกับออฟฟิตสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งเราเชื่อว่าออฟฟิตจะมีผลต่อคนที่ทำงานซึ่งจะส่งผลต่อไปยังผลของงานที่ทำ โดยมุมมองในที่นี้จะนำเสนอผ่านมุมมองของผู้มีความรู้ประสบการณ์หลายท่าน สรุปได้ดังนี้ . Work life balance ?     โดยคุณณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. ซึ่งได้ศึกษาและพบว่าการทำงานแบบ Work Integration ในลักษณะ Family Friendly Workplace ที่จะทำให้คนทำงานบูรณาการการดูแลครอบครัวได้ดีไปพร้อมกับการทำงานได้ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบของ Work Life Balance.  โดยองค์กรที่มีลักษณะดังกล่าวจะมีการสร้างวัฒนธรรมให้เอื้อต่อคนทำงานในรูปแบบลักษณะนี้ และมีกลไกการดำเนินงานและการติดตามวัดผล ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน. . ความรับชอบพิจารณาจาก Performance    รศ.ดร.พิภพ อุดร อาจารณ์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าวิธีคิดเรื่องการทำงานกับชีวิตเป็นเรื่องของเจนเนอเรชัน ซึ่งพบว่าการทำงานแบบทุ่มเทเต็มเวลาของคนในยุค Baby Boomer หรือ ค่านิยม...

การสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้คนเก่ง (s.95)

  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการสัมภาษณ์เป็นทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งในการได้คนเก่งเข้ามาทำงานให้กับองค์กร อย่างไรก็ดีข้อจำกัดของการสัมภาษณ์ คือ จะมีเวลาที่จำกัด ดังนั้นการเตรียมตัวที่ดี ผู้สัมภาษณ์ต้องเข้าใจบทบาท อ่านประวัติของผู้สมัครงานและคิดวางแผนก่อนว่าจะถามอะไร . การตั้งคำถามควรเป็นคำถามที่ท้าทายที่ทำให้ผู้สมัครได้คิด โดยมีวัตถุประสงค์คือการค้นหาความสามารถของผู้สมัครว่ามีขีดจำกัดอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรเป็นการพูดคุยที่เคร่งเครียดจนเกินไป เป็นคำถามที่กว้างแต่ซับซ้อน (ตอบได้หลายอย่างเพื่อดูกระบวนการคิด)  เป็นคำถามที่ผู้สมัครสามารถเถียงได้ (เพื่อให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็นสนับสนุนความคิดของตนเอง) ทั้งนี้การตั้งคำถามเดียวกันกับผู้สมัครหลายคนก็ถือเป็นแนวคิดที่ดี เพราะจะทำให้เปรียบเทียบคำตอบของแต่ละคนได้ . การถามเรื่องประวัติการทำงาน ควรตั้งคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้อธิบายถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา. หรือการถามแบบสถานการณ์สมมุติ จะช่วยเปิดแผยให้เห็นถึงผู้สมัครว่ามีความคิดวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากตอบเหวี่ยงแหกว้างๆ ก็อาจแสดงถึงผู้สมัครขาดความรู้หรือไม่เข้า...

การเติบโตของคลาวด์ในประเทศไทย (s.94)

  จากบทความในกรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 ก.ค.63 เรื่อง "การ์ทเนอร์ ชี้คลาวด์ไทยโตแรง คาดมูลค่าพุ่ง 2.2 หมื่นล้านปี 64" ได้กล่าวถึงการคาดการณ์ของบริษัทการ์ทเนอร์ อิงค์ ซึ่งคาดการณ์ว่าตลาดบริการระบบคลาวด์สาธารณะทั่วโลกจะขยายตัวประมาณ 6.3% คิดเป็นมูลค่า 257.9 พันล้านดอลลาร์. . โดยระบบคลาวด์ช่วยสามารถตอบโจทย์ให้แก่ธุรกิจในปัจจุบันได้เป็นอย่างดีสำหรับลูกค้าที่ต้องการความยืดหยุ่นในบริการและจ่ายค่าบริการเท่าที่ใช้งานเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนหรือเช่าระบบที่ราคาแพงแต่เกินความจำเป็นของธุรกิจ.  ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าตลาดคลาวด์ในประเทศไทยในปี 2563 จะเติบโตอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตขึ้นประมาณ 17.7% และเติบโต 25.2% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2564 . ทั้งนี้ การเติบโตของ DasS (Desktop as a Services) ถือเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในระบบคลาวด์ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มเป็น 71.7% ในปี 2563 นี้ เพราะให้ตัวเลือกด้านราคาที่เข้าถึงได้กับองค์กรที่สนับสนุนการทำงานจากระยะไกลของพนักงาน  ในขณะเดียวกัน SaaS (Software as a Services) ยังถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตอย่างต่อเนื่อง...