ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ออฟฟิตที่ใช่ สำหรับคนทำงาน 2/2 (s.97)

 

ต่อจากเรื่องที่เล่าสรุปให้ฟังเมื่อวานนี้เกี่ยวกับออฟฟิตสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งสรุปต่อได้ดังนี้
.
การนินทา เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงาน 
  ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ME by TMB Digital Bankgin ให้นิยามคำนินทาไว้ว่าเปรียบเสมือน Informal Network โดยหากเราไม่มองเป็นการนินทา สิ่งนี้คือการระบายและการแบ่งปันความรู้สึก ความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน.  ทั้งนี้การนินทาอาจไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีเสมอไป เพราะอาจเป็นเครื่องมือสานความสัมพันธ์แบบหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และเป็นเครื่องมือที่สร้างปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างรวดเร็ว.  และสำหรับในเรื่องการทำงาน  Informatal Network ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสามารถช่วยขับเคลื่อนการทำงานให้จบได้เร็ว เพราะมันสร้าง Information Flow ให้เกิดขึ้น
.
Best office ไม่ใช่ แค่การมี Facility ที่ดีเท่านั้น
  คุณจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้จัดการฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ภาครัฐ บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงสิ่งที่กูเกิลทำที่มากกว่าการออกแบบสถานที่ คือมีการออกแบบการเชื่อมโยงคนในองค์กร ซึ่งมีด้วยกัน 7 เรื่อง ประกอบด้วย (i) WHY ที่เข้มแข็ง - ทำให้รู้เป้าหมายว่า Vision ขององค์กรคืออะไร และเราทำอะไรอยู่ ทำไปเพื่ออะไร  (ii) เลือกคนที่ใช่ - เลือกคนที่เหมาะกับเป้าหมายขององค์กร  (iii) ความสะดวกที่ไม่ใช่แค่อยู่สบาย - แต่เป็นการสร้างกระบวนการทำงานให้ง่ายและสะดวก  (iv) การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ - ที่กูเกิลทำงานเน้น Data และการวิเคราะห์ ซึ่งในการทำงานเป็นทีม ประสิทธิภาพสำคัญกว่าคน  (v) Diversity - การมีส่วนร่วมของทุกคนที่จะสร้างความหลากหลาย  (vi) Work Space สำคัญกว่า Work Place และ (vii) นำระบบ Objectives and Key Results มาใช้ - ทำให้รู้ว่าเราจะโฟกัสอะไร ไม่ไฟกัสอะไร.
.
Employee Experience สำคัญ
  คุณนาฏฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล ดีแทค กล่าวถึงที่ ดีแทค จะมีมุมมองในเรื่อง Employee Experience คือ ความรู้สึกแฮปปี้กับประสบการณ์ในการทำงานผ่านการดูแลด้านต่างๆ ให้พนักงานสามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน มีครอบครัวที่มีคุณภาพ.  อีกทั้งดีแทคยังมีการส่งเสริมให้พนักงานรู้จักและพัฒนาจุดแข็งของตนเองอย่างต่อเนื่อง
.
เริ่ม (คัดคน) ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
  คุณรวิศ หาญอุตสาหะ CEO บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด กล่าวถึงการที่ศรีจันทร์จะให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพนักงาน เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยลดปัญหาในองค์กร ซึ่งบริษัทใช้เกณฑ์ในการวัดทั้ง Performance และ Culture  และแม้กระทั่งเข้ามาเป็นพนักงานยังมีการนำเรื่อง Feedback session เป็นตัวช่วยวิเคราะห์  ซึ่งจะช่วยให้พนักงานแต่ละคนรู้ว่าตนเองอยู่ตรงไหนและจะปรับตัวอย่างไร.  ทั้งนี้คุณรวิศ มองว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องงาน แต่มีปัญหากับคนที่เราทำงานด้วย. นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการสื่อสารทั้งระหว่างองค์กรกับพนักงาน และระหว่างพนักงานกับพนักงานที่ถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยจะต้องทำให้เกิดความโปร่งใส และรู้ว่าใครทำอะไรอยู่เพื่อลดความไม่เข้าใจระหว่างกัน อันจะทำให้ที่ทำงานน่าอยู่ขึ้น.
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ก.ค. 63 เรื่อง "Best Place to Work ถอดรหัสออฟฟิตแบบไหน ที่ใช่ของคนทำงาน" 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...