ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พายุเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลัง 2563 (s.109)

 
 
"..พายุลูกใหญ่ 3 ลูก ที่จะกระหน่ำพัดพาเศรษฐกิจของโลกไปในช่วงครึ่งปีหลังของ 2563 นี้ ซึ่งจะกระทบความเป็นอยู่รวมถึงธุรกิจของคนทั่วไปโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.."
.
บทความจาก ดร.บัณฑิต นิจถาวร ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้เล่าให้ฟังถึงพายุลูกใหญ่ 3 ลูก ที่จะกระหน่ำพัดพาเศรษฐกิจของโลกไปในช่วงครึ่งปีหลังของ 2563 นี้ ซึ่งจะกระทบความเป็นอยู่รวมถึงธุรกิจของคนทั่วไปโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบด้วย

1. พายุลูกที่ 1 การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สงบ - ซึ่งแต่เดิมมีการคาดหมายว่าการระบาดน่าจะจบสิ้นช่วงกลางปีหรืออาจเป็นไตรมาส 3 ของปี และต่อจากนั้นก็จะเป็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีผลที่เกิดขึ้นจริงที่เราได้เห็นกันนั้น คือ ปัญหาที่ยังไม่มีวี่แววถึงความสงบหรือลดระดับความรุนแรงของโรคระบาดดังกล่าว หลายพื้นที่ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อีกหลายพื้นที่เริ่มมีการระบาดซ้ำกลับมาให้เห็นอีกครั้งและทำให้ต้องมีการ lockdown ใหม่ 

2. พายุลูกที่ 2 ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ - ซึ่งภาวะตกต่ำนี้เป็นผลของการระบาด COVID-19 โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย รัสเซีย บลาซิล เป็นต้น ทำให้เกิดข้อจำกัดของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้านี้  ฐานะการเงินของบริษัทหรือกระทั่งของประเทศแย่ลง ทำให้มีแนวโน้มที่คนจะตกงานมากขึ้น โดยมีประมาณคนว่างงานกว่า 340 ล้านคน นอกจากนี้สำหรับประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจโลกเพื่อการเติบโตเป็นหลัก จะยิ่งเกิดข้อจำกัดต่อการฟื้นฟู ทำให้ประเทศดังกล่าวต้องอาศัยการฟื้นตัวจากปัจจัยภายในเท่านั้นซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ก่อนช่วงการระบาด

3. พายุลูกที่ 3 เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ - การเมืองในประเทศต่างๆ จะมีความเปราะบางมากขึ้นจากการประท้วงของผู้คนในประเทศ โดยสถาบันคาร์เนกี้เพื่อสันติภาพสากล ได้มีการรายงานว่าในช่วงปี 2018-2020 มีการประท้วงรัฐบาลกว่า 100 ครั้งทั่วโลก และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือผู้นำทางการเมืองกว่า 30 เหตุการณ์

ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทยของเรา ซึ่งพายุต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่ได้แตกต่างจากสภาพของประเทศที่เป็นอยู่ในขณะนี้นัก โดยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการระบาดของ COVID ที่ยังคงยืดเยื้อ เมื่อประชาชนไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ ความโกรธจะเพิ่มมากขึ้นอันจะส่งผลไปถึงเสถียรภาพของการเมืองและเศรษฐกิจเป็นวงจรหมุนเวียนไป ซึ่งทุกคนในประเทศมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังและหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อช่วยกันนำพาประเทศให้ก้าวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business 

อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17 ส.ค.63 เรื่อง "เศรษฐกิจโลกต้องระวัง พายุใหญ่ครึ่งปีหลัง" โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...