ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ออฟฟิตที่ใช่ สำหรับคนทำงาน 1/2 (s.96)

 

ครั้งนี้เป็นการรวบรวมมุมมองที่เกี่ยวข้องกับออฟฟิตสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งเราเชื่อว่าออฟฟิตจะมีผลต่อคนที่ทำงานซึ่งจะส่งผลต่อไปยังผลของงานที่ทำ โดยมุมมองในที่นี้จะนำเสนอผ่านมุมมองของผู้มีความรู้ประสบการณ์หลายท่าน สรุปได้ดังนี้
.
Work life balance ? 
  โดยคุณณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. ซึ่งได้ศึกษาและพบว่าการทำงานแบบ Work Integration ในลักษณะ Family Friendly Workplace ที่จะทำให้คนทำงานบูรณาการการดูแลครอบครัวได้ดีไปพร้อมกับการทำงานได้ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบของ Work Life Balance.  โดยองค์กรที่มีลักษณะดังกล่าวจะมีการสร้างวัฒนธรรมให้เอื้อต่อคนทำงานในรูปแบบลักษณะนี้ และมีกลไกการดำเนินงานและการติดตามวัดผล ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน.
.
ความรับชอบพิจารณาจาก Performance 
  รศ.ดร.พิภพ อุดร อาจารณ์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าวิธีคิดเรื่องการทำงานกับชีวิตเป็นเรื่องของเจนเนอเรชัน ซึ่งพบว่าการทำงานแบบทุ่มเทเต็มเวลาของคนในยุค Baby Boomer หรือ ค่านิยมแบบ Work Life Balance ของคนเจน X กำลังจะกลายเป็นอดีต.  โดยคนเจน Y จะสนใจเรื่อง Life Dominated Work คือ ถ้างานไม่เข้ากับชีวิต เขายินดีที่จะเปลี่ยนแปลงงาน.  ทั้งนี้การทำงานในโลกยุคใหม่มองที่ทำงานเป็น Workspace ซึ่งอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานได้ ทำให้คำว่าออฟฟิตจึงค่อยๆ ลดความหมายลง และองค์กรควรต้องนิยาม Policy ที่ชัดเจนว่าอะไรครอบคลุมถึงสิ่งที่เรียกว่า Workspace  ส่วนงานที่ทำต้องมีการรีดีไซน์เป็น Project Based Framework ให้มากขึ้น.
.
ออฟฟิตไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่หนึ่งเดียว 
  ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำให้ยกเลิกการจัดผังที่ทำงานในลักษณะเป็นคอก ซึ่งอาจมีอยู่ได้บ้างแต่ควรจัดพื้นที่ Co Working Space ให้มากขึ้น เพื่อให้คนทำงานมีพื้นที่หลากหลายสำหรับอารมณ์ทำงานในแต่ละโหมด.  โดยตัวอย่างที่เห็นคือ หลายองค์กรในต่างประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนที่ทำงานในลักษณะเหมือนเป็น Campus เช่น ให้พื้นที่ทำงานเป็นแคนทีน หรือห้องสมุดแทน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะสร้างแรงจูงใจให้กับคนรุ่นใหม่อยากเข้ามาทำงานในองค์กร.
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ก.ค. 63 เรื่อง "Best Place to Work ถอดรหัสออฟฟิตแบบไหน ที่ใช่ของคนทำงาน" 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...