องค์กรหรือบริษัทที่มีวัฒนธรรมของการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสามารถสร้างคุณค่าให้แก่หน่วยงานภายในได้แทบจะทุกส่วนงาน เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายสนับสนุนลูกค้า หรือแม้กระทั่งฝ่ายกลยุทธ์. และยิ่งองค์กรสามารถนำข้อมูลจากทีมขายซึ่งเป็นทีมที่ได้มีโอกาสพบเจอและรับ feedback จากลูกค้าอยู่ตลอดเวลา นำกลับมาใช้ในการตัดสินใจของหน่วยงานภายในทั่วทั้งองค์กร องค์กรนั้นก็จะยิ่งสามารถสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำได้ดังนี้
ลดช่องว่างของข้อมูลระหว่างทีมขาย และ ทีมการตลาด - ผล Feedback ที่มาจากทีมขาย ตั้งแต่พฤติกรรมของการซื้อไปจนถึงกระบวนการการซื้อสินค้า สามารถนำมาช่วยสนับสนุนทีมการตลาดในการกำหนดคุณลักษณะและกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น.
ได้รับข้อมูลเบื้องลึกจากกลุ่มลูกค้าแต่เนิ่นๆ - ข้อมูลที่ได้จากการสนทนาระหว่างลูกค้ากับทีมขายมีแนวโน้มที่จะเปิดเผยถึงข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับช่องว่างระหว่างตัวผลิตภัณฑ์กับความต้องการของลูกค้า ราคาของสินค้า หรือแม้กระทั่งข้อจำกัดต่างๆ. ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถทำให้การวิเคราะห์รูปแบบการสนทนาโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์เป็นไปได้มากขึ้น อันจะช่วยทีมสนับสนุนค้นหาข้อมูลเบื้องลึกที่ไม่ได้เปิดเผยออกมาจากการสนทนาตรงๆ ได้.
การแบ่งกลุ่ม และจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า โดยใช้มุมมองต่างๆ - ทีมขาย ทีมสนับสนุนลูกค้า และ ทีมผลิตภัณฑ์ จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลเบื้องลึกที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าที่มีแนวโน้มยอดขายที่จะเติบโตหรือลูกค้าที่มีแนวโน้มที่องค์กรจะสูญเสีย โดยพิจารณาจากข้อมูลต่างๆ ระหว่างทีมงานและนำมาวิเคราะห์ระบุถึงลูกค้ากลุ่มดังกล่าว. นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าโดยพิจารณาจากมุมมองในด้านต่างๆ เพื่อที่จะทำการตลาดหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์ตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าเหล่านั้น ซึ่งการทำดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ นำมาวิเคราะห์ร่วมกันโดยเฉพาะข้อมูลจากทีมขาย.
ระบุโอกาสการเติบโตจากสัญญาณภายนอก - ข้อมูลเบื้องลึกจากลูกค้าอาจหมายถึงแนวโน้มบางอย่างที่จะช่วยให้องค์กรสามารถระบุถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถทุ่มทรัพยากรไปยังตลาดกลุ่มใหม่ที่มีโอกาสเติบโต หรือ ปรับทรัพยากรออกจากกลุ่มตลาดที่มีแนวโน้มไม่ทำผลกำไร.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : HBR "How Sales Data Can Help Non-Sales Teams" โดย Alyssa Merwin
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น