หลังจากที่หลายประเทศเริ่มกลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง จากที่ได้ Lockdown ในช่วงที่ผ่านมาจากเหตุการณ์การระบาดของไวรัส COVID อย่างไรก็ดีก็ยังมีอีกบางประเทศที่เริ่มกลับมา Lockdown อีกครั้งจากการระบาดของไวรัสรอบ 2 หรือแม้กระทั่งบางประเทศที่ยังเหมือนไม่จบกับปัญหาไวรัสในรอบแรก. ครั้งนี้ เพื่อเป็นการฉายภาพปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ในช่วงที่เหลือของปี 2020 จึงขอนำบทวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งได้ประเมิน 3 ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดการเงินของโลก ดังนั้น
.
1. มาตรการการปิดเมืองในหลายประเทศที่อาจกลับมาเข้มงวดอีกครั้งจากการระบาด
หลังจากกลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง สถานการณ์ของ COVID ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดยในประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง ภาครัฐได้เริ่มทยอยเปิดเมืองต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาอยู่ในระดับสูง ภาครัฐได้เริ่มมีการเลื่อนการเปิดเมืองหรือเริ่มกลับมาเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการอีกครั้ง ซึ่งการปิดเมืองในครั้งใหม่นี้จะมีความเข้มงวดน้อยลง เนื่องจากรัฐบาลได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
2. มาตรการสนับสนุนของภาครัฐบางอย่างที่กำลังหมดอายุลง หรือผ่อนคลายในอัตราชะลอตัว ในขณะที่รายได้และการจ้างงานยังต่ำกว่าปกติ
มาตรการประเภทให้เงินช่วยเหลือบางมาตรการเริ่มหมดอายุลง อีกทั้งมีความไม่แน่นอนในการต่ออายุและขนาดของโครงการที่อาจเล็กลง ทำให้ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้น ยกตัวอย่างกรณีของประเทศไทยที่มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID ซึ่งหมดอายุในเดือน ก.ค. 2020 และมีความไม่นอนสูงในการต่ออายุ ซึ่งหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลับมาไม่ทันกับการหมดอายุของมาตรการของรัฐ หรือมาตรการเหล่านี้ไม่ได้ถูกต่ออายุออกไป หรือต่ออายุแต่มีขนาดเล็กลง ก็อาจส่งผลกระทบให้กำลังซื้อของภาคครัวเรือนลดลงและเกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น
3. การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือน พ.ศ. อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านภาษี การค้าระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจของสหรัฐ
การผลการสำรวจในปัจจุบันพบว่า Joe Biden ผู้สมัครจากพรร Democrat มีคะแนนนำประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Trump อยู่ค่อนข้างมาก โดยนโยบายของ Joe Biden สรุปได้ ดังนี้
- ท่าทีของสหรัฐฯ ต่อจีนอาจไม่กลับไปประนีประนอมเท่ากับช่วงก่อนประธานาธิบดี Trump แต่ก็ไม่น่าแข็งกร้าวเท่า Trump
- การปรับเพิ่มอัตราภาษีทั้งทางภาคธุรกิจ (corporate tax) และภาษีต่อผู้มีรายได้สูง แต่การปรับดังกล่าวน่าจะไม่สูงนัก ทำให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้
- การใช้จ่ายภาครัฐในสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมากเพื่อประคองเศรษฐกิจ ทำให้การขาดดุลทางการคลังของสหรัฐฯ น่าจะยังสูงขึ้น
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : บทความจาก SCB EIC เรื่อง "ปัจจัยสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก : นัยต่อค่าเงินบาทและอัตราดอกเบี้ยไทยปี 2020" วันที่ 3 ส.ค. 2563
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น