ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้เราสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำงานเฉพาะแต่ในออฟฟิตเพียงอย่างเดียว และประกอบกับการเกิดโรคระบาด COVID-19 ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้กระบวนการของการเร่งพฤติกรรมการทำงานในทุกที่ (Works Anywhere) มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นและเป็นเรื่องปกติมากขึ้น. อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นความรู้สึกของการที่ต้องทำงานตลอดเวลา (Always-On) คือ ปัญหาของการแยกช่วงเวลาระหว่างเวลาส่วนตัวและเวลางานออกจากกันได้ยากขึ้น. โดยในช่วงของความปกติใหม่นี้ (New Normal) คนส่วนใหญ่จะยิ่งรู้สึกถึงความเครียดที่เพิ่มขึ้นทั้งความเครียดจากงานที่ทำงานและความเครียดจากครอบครัว ซึ่งคนทำงานหรือพนักงานจำเป็นต้องหาแนวทางป้องกันตนเองจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เรายังรักษาคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีได้ โดยมีวิธีที่อยากแนะนำ คือ
.
1. สร้างพลังความตั้งใจให้กับตนเอง - คนที่มีความสามารถที่ควบคุมตนเองได้ จะสามารถบรรเทาความเครียดจากการพฤติกรรมการติดต่อตลอดเวลา (Always-On) ได้มากกว่า เช่น การควบคุมตนเองให้ไม่ดูข้อความจากโทรศัพท์มือถือทุกครั้งที่มีข้อความเข้ามา หรือ การไม่ถูกขัดจังหวะจากงานในที่ทำงานขณะรับประทานอาหารกับครอบครัว เป็นต้น ซึ่งความสามารถในการควบคุมตนเองนั้นเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้หนักแน่นมากขึ้นได้เมื่อเราพยายามใช้มันมากขึ้น.
2. กำหนดขอบเขต และยึดมั่นที่จะปฏิบัติ - พลังของความตั้งใจของคนเรามีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงวันจนกระทั่งเราเข้านอน และจะเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะต้องรักษาพลังของความตั้งใจไม่ให้หมดไปเสียก่อน ซึ่งวิธีการหนึ่งคือการกำหนดเส้นแบ่งที่แน่นอนของการทำงานและเรื่องส่วนตัว เช่น การกำหนดขอบเขตของงานโดยตั้งใจไม่ทำงานภายหลังจากเวลาที่เลิกงาน เป็นต้น
3. สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและชัดเจน - โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เราทำงานห่างกันมากขึ้น การสื่อสารที่ดีจะลดความไม่แน่นอนหรือความสับสน อันเป็นต้นเหตุหนึ่งของความเครียด. โดยผู้นำควรต้องเป็นแบบอย่างของการสื่อสารในเรื่องของการกระทำและความคาดหวังให้พนักงานได้เห็นเป็นแบบอย่าง เช่น การที่ผู้นำส่ง email และข้อความเฉพาะในช่วงเวลางาน จะเป็นแบบอย่างของการสื่อสารถึงความคาดหวังในการกำหนดเวลาการทำงานให้กับทีมงาน เป็นต้น
.
ทั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญที่พนักงานจะต้องสามารถควบคุมงานของตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยพนักงานที่มีพลังความตั้งใจที่เต็มเปี่ยม มีการกำหนดขอบเขตระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวที่เหมาะสม และผู้นำได้สื่อสารมาตรฐานและความคาดหวังอย่างถูกต้อง การทำงานนอกออฟฟิต (Working Anywhere) จะป็นสิ่งที่สร้างแรงบวกให้กับพนักงานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : HBR "How to Cope with That "Always-On" Feeling" โดย Charn McAllister และทีม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น