การค้นพบหนึ่งจากงานวิจัยที่น่าสนใจ คือ ลูกค้าจะยินดีที่จะแชร์ข้อมูลเบื้องลึกหรือเรื่องเกี่ยวกับตนเอง (ส่วนบุคคล) เมื่อพวกเขาทำการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มากกว่าการแชร์ผ่านทางคอมพิวเตอร์บุคคล. ซึ่งคำอธิบายทั่วไป คือ การที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีขนาดที่เล็กและแป้นพิมพ์ต้องการสมาธิในการพิมพ์มากกว่าคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานจำเป็นต้องจดจ่อ และการจดจ่อดังกล่าวทำให้พวกเขาถูกปิดกั้นสมาธิจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ.
.
ทั้งนี้ เราอาจลองนึกถึงช่วงที่เวลาเรากำลังเขียน email หรือพิมพ์ข้อความเพื่อส่งให้เพื่อนของเราเปรียบเทียบระหว่างทำบนโทรศัพท์เคลื่อนที่กับทำบนคอมพิวเตอร์ เราจะสังเกตได้ว่าช่วงเวลาที่เราทำกิจกรรมดังกล่าวเราจะปิดกั้นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวและให้ความสนใจโดยเฉพาะกับกิจกรรมบนหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่ากิจกรรมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยงานวิจัยได้ระบุถึง 2 เหตุผลสำหรับเหตุการณ์นี้ คือ
1. โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ โดยในเชิงจิตวิทยาแล้ว โทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งเมื่อรู้สึกผ่อนคลาย เราก็จะมีแนวโน้มที่จะแบ่งปันเรื่องส่วนตัวมากขึ้น
2. ด้วยจอภาพที่มีขนาดเล็กของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้เราต้องเพ่งความสนใจและโฟกัสไปกับการกระทำสิ่งต่างๆ บนหน้าจอโทรศัพท์มากกว่าบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อเราพยายามโฟกัส เรามีแนวโน้มที่จะตัดขาดจากสิ่งรอบตัวภายนอกเช่นกัน ซึ่งรวมไปการตัดขาดจากความกังวลในการที่ผู้อื่นจะรับรู้หรือแสดงออกในสิ่งที่เราแชร์ออกไป
.
เมื่อเราพิจารณาไปที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เราจะพบว่าสิ่งนี้แทบเป็นสิ่งที่อยู่กับเราตลอดเวลาทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน และเรามักจะใช้มันกับกิจกรรมที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น ส่งข้อความ ทำธุรกรรมการเงิน เป็นต้น และหากพิจารณามุมของการตลาด การที่บริษัทได้รับข้อมูลหรือเนื้อหา (content) ที่ผู้ใช้สร้างจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ (smartphone-generated) เนื้อหาดังกล่าว จะมีแนวโน้มที่แสดงถึงความคิดหรือความรู้สึกของผู้ใช้งานจริงได้มากกว่า.
.
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : Knowledge@Wharton "Why Consumers Are Willing to Share Personal Information on Smartphones"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น