คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการสัมภาษณ์เป็นทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งในการได้คนเก่งเข้ามาทำงานให้กับองค์กร อย่างไรก็ดีข้อจำกัดของการสัมภาษณ์ คือ จะมีเวลาที่จำกัด ดังนั้นการเตรียมตัวที่ดี ผู้สัมภาษณ์ต้องเข้าใจบทบาท อ่านประวัติของผู้สมัครงานและคิดวางแผนก่อนว่าจะถามอะไร
.
การตั้งคำถามควรเป็นคำถามที่ท้าทายที่ทำให้ผู้สมัครได้คิด โดยมีวัตถุประสงค์คือการค้นหาความสามารถของผู้สมัครว่ามีขีดจำกัดอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรเป็นการพูดคุยที่เคร่งเครียดจนเกินไป เป็นคำถามที่กว้างแต่ซับซ้อน (ตอบได้หลายอย่างเพื่อดูกระบวนการคิด) เป็นคำถามที่ผู้สมัครสามารถเถียงได้ (เพื่อให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็นสนับสนุนความคิดของตนเอง) ทั้งนี้การตั้งคำถามเดียวกันกับผู้สมัครหลายคนก็ถือเป็นแนวคิดที่ดี เพราะจะทำให้เปรียบเทียบคำตอบของแต่ละคนได้
.
การถามเรื่องประวัติการทำงาน ควรตั้งคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้อธิบายถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา. หรือการถามแบบสถานการณ์สมมุติ จะช่วยเปิดแผยให้เห็นถึงผู้สมัครว่ามีความคิดวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากตอบเหวี่ยงแหกว้างๆ ก็อาจแสดงถึงผู้สมัครขาดความรู้หรือไม่เข้าใจสถานการณ์ที่ดีพอ
.
ผู้สัมภาษณ์ควรระลึกเช่นกันว่าผู้สมัครที่เก่งนั้นก็กำลังประเมินผู้สัมภาษณ์หรือบริษัทเช่นกัน. โดยการสัมภาษณ์ควรใช้เวลา 30 นาทีก็เพียงพอ เพราะโดยทั่วไปแล้ว หลังจากผู้สมัครเดินเข้าห้องสัมภาษณ์ไม่กี่นาที ผู้สัมภาษณ์ก็จะแล้วว่าผู้สมัครคนนี้ใช่เหมาะกับตำแหน่งงานหรือไม่. โดยผู้สัมภาษณ์เก่งๆ มักสามารถบอกได้ว่าเขาจะไม่จ้างใครภายในเวลาครึ่งชั่วโมง และถ้าอยากคุยต่อ ก็นัดสัมภาษณ์ใหม่ได้.
.
การสัมภาษณ์ได้เก่งก็คือต้องฝึกฝนอยู่เสมอ ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่พนักงานทุกคนสามารถพัฒนาได้. โดยคำถามที่นิยมใช้ในการสัมภาษณ์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ (i) คำถามเชิงพฤติกรรม - เป็นการถามถึงการจัดการกับสถานการณ์ที่ผ่ามาเพื่อดูว่าผู้สมัครมีวิธีการจัดการอย่างไร หรือ (ii) คำถามเชิงจิตวิทยา - เป็นคำถามที่ช่วยให้รู้ถึงความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติเพื่อประเมินทักษะ ความเหมาะสมกับองค์กร
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 ก.ค. 63 เรื่อง "ฝึกทักษะ การสัมภาษณ์ คว้าคนเก่งให้องค์กร"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น