ในบทความล่าสุดของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 ส.ค.63 เรื่อง "ข้อเสนอ โมเดลโคเวล บริหารเศรษฐฏิจมหภาค ฝ่าวิกฤต COVID" ได้ให้คำแนะนำข้อเสนอแนะที่น่าสนใจสำหรับการบริหารเศรษฐกิจมหภาค เพื่อให้ประชาชนไม่ยากลำบากจนเกินไปในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะช่วงหลัง COVID นี้ โดยโมเดลจะเน้นการสร้างรายได้ภายในประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อทดแทนรายได้จากต่างประเทศที่หายไป จึงขอนำมาสรุปเล่าให้ฟัง ดังนี้
.
1. เปลี่ยนจากการเน้น GDP ไปเป็นเน้นการจ้างงาน - การบริหารเศรษฐกิจควรเน้นไปที่การจ้างงานเต็มที่ โดยภาครัฐอาจนำข้อมูลผู้ลงทะเบียนในโครงการต่างๆ มาวิเคราะห์และออกแบบโครงการสร้างงานต่างๆ ที่เหมาะสมกับคนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งการใช้อัตราการว่างงานเป็นดัชนีหลักในการประเมินผล
2. เปลี่ยนวิธีช่วยเหลือจาก "welfare" เป็น "workfare" - รัฐบาลควรเปลี่ยนจากการแจกเงินเป็นการให้เงินโดยแลกกับการทำงานเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งช่วยให้คนว่างงานมีรายได้ต่อเนื่อง ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือเพิ่มทักษะของผู้ว่างงาน
3. เปลี่ยนหน่วยการช่วยเหลือจาก "บุคคล" มาเป็น "กลุ่มคน" - ในภาวะที่มีคนว่างงานอพยพกลับถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก การสนับสนุนการสร้างงานและการสร้างระบบสวัสดิการโดยชุมชนน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสม เช่น การสร้างชุมชนที่ยั่งยืนในตัวเอง หรือการสร้างระบบสวัสดิการในชุมชน โดยส่งเสริมให้วัดหรือศาสนาสถานเป็นศูนย์กลางการระดมทรัพยากรสำหรับการช่วยเหลือ
4. เปลี่ยน "ทรัพยากร" เป็น "รายได้" - รัฐบาลไม่ควรพึ่งพางบประมาณเพียงอย่างเดียว แต่ควรส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่เพื่อสร้างรายได้ ทรัพยากร เช่น ที่ดินรกร้าง เป็นต้น ซึ่งเราควรหาวิธีใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้
5. เปลี่ยน "เงินออม" เป็น "เงินลงทุน" - ปัจจุบันยอดเงินมามีจำนวนมาเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ต่ำ ทำให้ประชาชนเลือกที่จะนำเงินมาออมมากกว่าการออกใช้จ่าย ภาครัฐอาจทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำเงินออมมาลงทุน เช่น การออกพันธบัตร การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
อ้างอิง : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 ส.ค.63 เรื่อง "ข้อเสนอ โมเดลโคเวล บริหารเศรษฐฏิจมหภาค ฝ่าวิกฤต COVID" โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น