ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การรักษาแรงจูงใจ เมื่อปราศจากการให้คำแนะนำ (Feedback) (s.115)

 "...คนทำงานที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง มักเป็นผู้ที่มีแรงจูงในการทำงานที่ดี  โดยการกระตุ้นในพนักงานสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน..."




การทำงานที่บ้านหรือทำงานนอกออฟฟิต (work anywhere) เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เริ่มพบเห็นทั่วไปได้ในองค์กร  การทำงานในลักษณะดังกล่าวมีข้อเสียหนึ่งเมื่อเทียบกับการทำงานที่ออฟฟิต คือ การได้รับคำแนะนำ (Feedback) จากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานที่น้อยลงเช่นกัน ซึ่ง Feedback ที่น้อยลงมีแนวโน้มที่จะลดทอนกำลังใจในการทำงาน ลดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และอาจส่งผลถึงผลงานที่ออกมา.  โดยทั่วไป คนทำงานที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง มักเป็นผู้ที่มีแรงจูงในการทำงานที่ดี  โดยการกระตุ้นในพนักงานสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานให้พนักงานได้ทราบ.  อย่างไรก็ดีในสภาวะการทำงานนอกออฟฟิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้การได้รับข้อเสนอแนะเป็นไปได้ยาก  พนักงานจึงจำเป็นต้องสามารถสร้างความมั่นใจและสร้างแรงจูงให้กับตนเองเพื่อให้สร้างผลงานไปได้ ซึ่งตัวอย่างกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจ มีดังนี้
.

ท้าทายความคิดด้านลบของเรา - วิธิคิด 2 รูปแบบที่มักเป็นความคิดด้านลบที่คนมักคิดในยามที่มีความไม่แน่นอน ได้แก่ (i) คิดลบเกินไปถึงเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นยาก และ (ii) คิดลบเกินไปถึงผลที่จะเกิดตามมาจากเหตุการณ์นั้น.  การปราศการสื่อสารและ Feedback เป็นระยะเวลานานนั้น คนเราจะเริ่มสร้างเรื่องราวขึ้นมา ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวมักเป็นเรื่องราวในทางลบและลดทอนความมั่นใจและแรงจูงใจ.  สิ่งที่เราควรทำเมื่อเกิดความรู้สึกดังกล่าว คือ ให้ท้าทายต่อความคิดดังกล่าวโดยใช้ความคิดแบบมีเหตุผลมากขึ้น คิดถึงเหตุและความน่าจะเป็นถึงโอกาสที่เหตุการณ์ร้ายจะเกิดขึ้น ซึ่งการคิดแบบนี้จะช่วยให้เราสามารถดึงความคิดกลับมาและไม่ฟุ้งซ่าน

ดึงตัวตนที่เหมาะสมออกมากจากชุดตัวตนของเรา - คนแต่ละคนมักจะมีตัวตนในบทบาทที่แตกต่างกันไป เราอาจเป็นทั้งหัวหน้างานร่วมงาน เพื่อนร่วมงาน หรือกระทั่วเป็นเด็ก ในสถานการณ์หนึ่งๆ. โดยเราทุกคนต่างมีตัวตนในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป. ชุดตัวตนของเราที่หลากหลายนี้จะช่วยให้เราสามารถเป็นคนในแบบที่ต้องการในสถานการณ์หนึ่งๆ ซึ่งช่วยให้เรารู้สึกดี หรือแม้กระทั่งช่วยให้เราเอาตัวรอดจากสถานการณ์บางอย่างได้.  ดังนั้น ในสถาวะที่มีความไม่แน่นอน ไม่มีแรงจูงในการทำงาน การที่เราสามารถดึงเอาตัวตนบางอย่างจากชุดตัวตนของเราออกมาอาจช่วยให้เรารู้สึกมีความมั่นใจและมีแรงจูงใจที่ดีขึ้นได้ โดยเราอาจคิดถึงสถานการณ์ที่ทำให้เรามีความมั่นใจ ฮึกเฮิม และนำตัวตนในสถานการณ์นั้นออกมา เพื่อช่วยเปลี่ยนตัวตนของเราในยามที่เราไม่มีแรงจูงใจหรือหมดกำลังใจ.

ใช้ประโยชน์จากการตอบสนอง - คนทั่วไปมักจะปฏิบัติต่อผู้อื่นคล้ายกับที่ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา ซึ่งความรู้สึกนี้เป็นตัวขับเคลื่อนเราในการที่จะตอบสนองในทางบวกหรือทางลบต่อผู้อื่น.  ดังนั้นสภาวะที่เรารอ Feedback ในสถานการณ์ที่ผู้คนต่างทำงานนอกออฟฟิต ซึ่งมักมีการโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว อาจทำให้เราหมดแรงจูงใจในการทำงานได้.  เพื่อสร้างการตอบสนอง เราสามารถเริ่มต้นด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือร้องขอในสิ่งที่เราต้องการ เช่น ในกรณีนี้การขอคำแนะนำจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานโดยตรงผ่านทางช่องทางติดต่อต่างๆ โดยไม่ต้องรอให้เขาเริ่มก่อน อาจเป็นสิ่งดีที่ช่วยให้เราได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์ที่ช่วยสร้างความมั่นใจและแรงจูงใจในการทำงาน อีกทั้งยังสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย.
.
#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business 

อ้างอิง : HBR "Stay Motivated When Feedback Is Scarce" by Deborah Grayson Riegel

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...