ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อข้อมูลที่มากขึ้น สร้างความสับสน (s.121)

"...ความรู้สึกไม่แน่นอนเป็นความรู้สึกที่ส่งสัญญาณให้สมองของเราพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อค้นหาคำตอบของความไม่แน่นอนนี้ ซึ่งในบางกรณีมีข้อยกเว้นสำหรับการที่ข้อมูลมากขึ้นจะนำพาให้เกิดความสับสนมากขึ้นได้เช่นกัน..."

 
.
โดยทั่วไปแล้วการมีข้อมูลที่มากขึ้นจะช่วยสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจในเรื่องหนึ่งมากขึ้น อย่างไรก็ดีบางกรณีมีข้อยกเว้นสำหรับการที่ข้อมูลมากขึ้นจะนำพาให้เกิดความสับสนมากขึ้นได้เช่นกันเมื่อมีความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ และ ความรู้เข้าใจที่น้อยในเรื่องนั้นๆ ยกตัวอย่างของกรณี Covid-19 ที่มีข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ออกมามากมายซึ่งมีความขัดแย้งกันเอง สร้างความสับสนให้แก่ประชาชน เป็นต้น. ความรู้สึกไม่แน่นอนเป็นความรู้สึกที่ส่งสัญญาณให้สมองของเราพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อค้นหาคำตอบของความไม่แน่นอนนี้ แต่บางกรณีเช่น Covid-19 ก็ทำให้เราพยายามที่จะค้นหาคำตอบเช่นกัน แต่ปัญหาดังกล่าวมีความไม่แน่นอนที่สูงรวมถึงทิศทางผลลัพธ์ที่จะออกมา ทำให้การยิ่งค้นหายิ่งมีโอกาสเกิดความสับสน. 
.
ความไม่แน่นอน มักแบ่งแยกออกองค์ประกอบได้เป็นอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ความน่าจะเป็น, ความคลุมเครือ และความซับซ้อน ซึ่งองค์ประกอบแต่ละอย่างจำเป็นต้องได้รับการจัดการเพื่อไม่ให้ข้อมูลที่มีนั้นสร้างความสับสนในการตัดสินใจให้แก่เรา. 
.
1. ความไม่แน่นอนของความน่าจะเป็น - เป็นสถานการณ์ที่มีความยากลำบากในการทำความเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งคุณมักไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและคุณไม่รู้ผลลัพธ์ของสิ่งที่จะเกิดขึ้น. การจัดการดังกล่าวควรทำความเข้าใจว่าคุณมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริบทเดียวกัน และไม่ควรทึกทักเองว่าเรามีความเสี่ยงน้อยหรือมากกว่าคนอื่น (Self-Positivity Bias) ซึ่งจะทำให้เราตัดสินใจได้เป็นกลางมากยิ่งขึ้น

2. ความไม่แน่นอนของความคลุมเครือ - เป็นสถานการณ์ที่มีข้อมูลไม่เที่ยงตรง ไม่เพียงพอ หรือขัดแย้งกันอย่างมาก. เราควรจัดการโดยพยายามลดแหล่งที่มาของข้อมูล โดยเลือกแหล่งที่มาเฉพาะแหล่งที่น่าเชื่อถือ และใช้ข้อมูลในเรื่องที่แนวโน้มมีการยืนยันคล้ายกันในหลายแหล่งข้อมูล.

3. ความไม่แน่นอนของความซับซ้อน - สถานการณ์ที่มีความซับซ้อนในตัวมันเองและยากต่อการเข้าใจ. การจัดการเรื่องดังกล่าวอาจไม่สามารถทำได้เพียงพยายามหาข้อมูลที่อยู่ตามแหล่งต่างๆ แต่ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงในเรื่องดัวกล่าวเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นความซับซ้อนนั้นๆ หรืออาจเป็นการขอแนวทางในการแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ เพื่อนำมาพิจารณาประกอบกับบริบทของเราในการตัดสินใจปัญหาต่อไป.
.
#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business 

อ้างอิง : HBR "When More Information Leads to More Uncertainty" โดย Geeta Menon และ Ellie J. Kyung

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...